ไม้ชนิดนี้
พบมากที่สุดตามพื้นที่ราบและตามป่าทั่วไปทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก
ส่วนภาคอื่นมีประปราย ซึ่งผู้อ่านหลายคนอยากทราบที่มาของชื่อว่าเป็นเช่นไร
เพราะฟังแล้วทำให้คิดไปในทางสัปดี้สีปดน โดยความจริงแล้ว ไม่ได้เป็นอย่างที่คนส่วนใหญ่เข้าใจแม้แต่น้อย
เนื่องจากไม้ชนิดนี้จะมีลักษณะพิเศษ คือ เนื้อใบจะมีความหนามาก
ใบจะแผ่กระจายเหนือผิวดิน เมื่อมีคนเดินเหยียบย่ำจนราบและคิดว่าตายไปแล้ว
แต่ไม่กี่นาทีต้นจะชูตั้งขึ้นเช่นเดิมเหมือนไม่เคยถูกคนเหยียบย่ำมาก่อน
จึงถูกเรียกชื่อตามลักษณะว่า “โด่ไม่รู้ล้ม” ดังกล่าว
สำหรับ
ประโยชน์ทางสมุนไพรของ “โด่ไม่รู้ล้ม”
ทั้งต้นมีรสขื่นใช้เป็นยาแก้ปัสสาวะพิการ บำรุงกำหนัด
แพทย์ตำบลกล่าวว่าทั้งต้นรสกร่อยจืดขื่นเล็กน้อย กินทำให้มีกำลัง
ทั้งต้นต้มน้ำดื่มต่างน้ำแก้ไข้จับสั่น เรียกว่า “หญ้าสามสิบสองราก”
ทั้งต้นต้มน้ำดื่มแก้ไอ แก้กษัย บำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ แก้ไข้
ขับพยาธิไส้เดือน แก้กามโรค ใบ ต้มน้ำดื่มขับพยาธิ ขับปัสสาวะ กระตุ้นกำหนัด
ใบกับราก เป็นยาคุมกำเนิด
โด่ไม่รู้ล้ม หรือ ELEPHAN-TOPUS SCABER LINN อยู่ในวงศ์ COMPOSITAE เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นสั้น
ใบเดี่ยว เรียงซ้อนกันเป็นวง รูปขอบขนาน หรือรูปใบหอกกลับ มักแผ่ราบไปกับผิวดิน
ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ท้องใบมีขนมากกว่าหลังใบ ดอก ออกเป็นช่อแทงขึ้นจากกลางต้น
ก้านช่อแตกแขนงได้ มีดอกย่อยขนาดเล็กรวมกันเป็นกระจุกที่ปลายช่อ มีกลีบดอก 5
กลีบ รูปขอบขนาน ปลายแหลม เป็นสีม่วงน่าชมมาก “ผล” เป็นผลแห้งไม่แตก มีเมล็ด
เจริญเติบโตดีและมีดอกช่วงฤดูฝน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและเหง้า จีนแต้จิ๋ว เรียกว่า “เคยโป๊” และมีชื่อเรียกตามท้องถิ่นอีกเยอะ
ปัจจุบัน “โด่ไม่รู้ล้ม” มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ
บริเวณโครงการ 3 แผง “เจ๊ติ๋ม” ราคาสอบถามกันเองครับ.
ดาวเรือง แก้ปวดฟัน
สมัยก่อน คน
เป็นโรคปวดฟันกันเยอะ และมักใช้สมุนไพรจากหมอแผนไทยรักษาให้หายได้ ซึ่ง “ดาวเรือง”
เป็นสูตรหนึ่งที่ใช้ได้ผลดี คือ เอา ดอก “ดาวเรือง”
สด 5 ดอก แห้ง 5 กรัม
ต้มกับน้ำ 2 แก้วใหญ่จนเดือดรอพออุ่นอมกล้ัวในปากเน้นบริเวณที่ปวดฟันแล้วบ้วนทิ้ง
สามารถอมได้เรื่อยๆจนน้ำหมดแล้วต้มใหม่ จะช่วยบรรเทาอาการปวดและหายได้ดาวเรือง หรือ AFRICAN MARIGOLD TAGETES ERECTA LINN. อยู่ในวงศ์ COM-POSITAE สรรพคุณทางยาทั้งต้นต้มน้ำดื่ม
ขับลม แก้ปวดท้อง ใช้กลีบดอกสด 3 กรัม ปั่นในน้ำ 1 ลิตร เอาเฉพาะน้ำ พ่นฆ่าไส้เดือนฝอย ซึ่งในดอกมีสารฆ่าแมลงชื่อ PYRETHRIN และน้ำมันหอมระเหยแสดงฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราในหลอดทดลอง
ดองดึง ไม้ดอกสวยถูกลืม
สมัยก่อน
ไม้ต้นนี้ได้รับความนิยมปลูกเป็นไม้ประดับอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นไม้ที่มีดอกสวยงามแปลกตามาก
และในสมัยนั้นจะมีผู้ขยายพันธุ์นำต้นออกวางขายอย่างกว้างขวาง
ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แต่ในปัจจุบัน ต้น “ดองดึง” กลายเป็นไม้ที่ถูกลืม
ไม่ได้รับความสนใจจากผู้ปลูกเหมือนเช่นแต่ก่อนอีก จนกลายเป็นไม้หายากไปโดยปริยาย
อย่างไรก็ตาม
มีผู้อ่านไทยรัฐจำนวนมากอยากทราบว่า “ดองดึง” มีต้นขายอยู่หรือไม่
และจะซื้อหาได้จากที่ไหน ซึ่งก็ทราบว่า “ดองดึง” ชนิดที่เป็นต้นปลูกในกระถางไม่พบมีวางขายแล้ว
จะมีเฉพาะ “หัว” ของ “ดองดึง” เท่านั้น วางขายให้ผู้ซื้อ ซื้อไปปลูกเอง
จึงแจ้งให้ทราบอีกตามระเบียบ
ดองดึง หรือ GLORIOSA SUPERBA LINN. ชื่อสามัญ GLORY LILY, CLIMBING LILY อยู่ในวงศ์
LILIACEAE มี ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้เถาเลื้อยขนาดเล็ก
มีหัวใต้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ
รูปใบหอกค่อนข้างยาว ปลายใบยืดยาวและม้วนลงเป็นมือเกาะ
โคนใบมน สีเขียวสด
ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ
ตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบรวมมี 6
กลีบ เป็น รูปแถบโค้งกลับไปทางด้านก้านดอก ขอบหยักเป็นคลื่น
ดอกเป็นสีเขียวอ่อน เปลี่ยนเป็นสีเหลืองและสีแดง
เมื่อบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. มีเกสรตัวผู้ 6
อัน ก้านเกสรกางแผ่เป็นรัศมี
เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงามมาก “ผล”
เป็นฝัก เมื่อแก่แตกได้ ภายในมีเมล็ด ดอกออกช่วงฤดูฝน
ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและหัวใต้ดิน ถิ่นกำเนิดเอเชียเขตร้อนทั่วไป และ แอฟริกา
มีชื่อเรียกอีกคือ ก้ามปู (ชัยนาท) คมขวาน, บ้องขวาน,
หัวขวาน (ชลบุรี) ดาวดึงส์, ว่านก้ามปู
(ภาคกลาง) พันมหา (นครราชสีมา) และ มะขาโก้ง (ภาคเหนือ)
ประโยชน์ หัวใต้ดิน และ
เมล็ด มีสารจำพวก “อัลคาลอยด์”
ชื่อ COLCHICINE, SUPER BINE, GLORIOSINE, METHYLCOLCHICINE โดยเฉพาะ COLCHICINE ใช้ในยาแผนปัจจุบัน
แก้โรคปวดข้อ (GOUT) และฆ่าเซลล์มะเร็ง บางชนิด ยาพื้นบ้าน แก้โรคเรื้อน คุดทะราด บาดแผล แก้เสมหะ หัว
ฝนทาแก้พิษสัตว์กัดต่อย แต่ หัวกับเมล็ดก็มีโทษ ถ้ากินมาก จะคลื่นไส้อาเจียน ทำให้หมดสติและตายได้ จึงต้องระวังครับ.
ดินสอพอง รักษาตาปลา
สมัยก่อน มีคนเป็น
ตาปลา กันเยอะ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นบริเวณที่ส้นเท้าข้างใดข้างหนึ่ง หรืออาจเป็นทั้ง
2 ข้าง
เมื่อเป็นแล้วจะมีอาการปวด เดินลงส้นเท้าไม่ได้ บางคนปล่อยให้หายเอง 1 หรือ 2 สัปดาห์จะกลับมามีอาการอีก
เรียกว่าเป็นๆหยุดๆทำให้รู้สึกหงุดหงิดและทรมานมาก โดยเฉพาะคนทำงานเดินเหินเสียบุคลิกภาพหมด
ดูไม่ขึ้นเลย
ในยุคสมัยนั้น คนที่เป็นตาปลา นิยมใช้วิธีรักษาด้วยแพทย์แผนไทย
เนื่องจากบ้านอยู่ห่างไกลสุขศาลาหรือโรงพยาบาลในตัวเมือง
ซึ่งหมอยาพื้นบ้านจะมีวิธีรักษาแบบง่ายๆ คือ เอา “ดินสอพอง”
ก้อนหรือ 2 ก้อนไปเผาไฟให้ร้อนจนแห้งพักไว้ให้เย็นลง
จากนั้นจึงนำเอาผง “ดินสอพอง” ที่เผาไฟดังกล่าวไปถูส้นเท้าหรือบริเวณที่เป็นตาปลา
ถูไปถูมาจนหัวตาปลาหลุดออกมา จะช่วยให้อาการที่เป็นหายได้
หาก กลับมาเป็นอีกก็ให้เอา “ดินสอพอง” รักษาให้หายได้เหมือนเดิม ซึ่งสูตรดังกล่าวนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางมาแต่โบราณแล้ว เพราะได้ผลดีระดับหนึ่ง ประกอบกับ “ดินสอพอง” ที่ใช้รักษาหาง่ายมีวางขายทั่วไป
ปัจจุบัน สูตรดังกล่าว ได้ถูกลืมไปแล้ว จึงนำเสนอเพื่อให้เป็นทางเลือกและ อนุรักษ์ไว้เป็นมรดกไทยไม่ให้สูญหายไปในอนาคต ใครที่มีอาการปวดตาปลาทดลองเอา “ดินสอพอง” ไปรักษาดู จะช่วยให้หายได้อย่างเหลือเชื่อ
หาก กลับมาเป็นอีกก็ให้เอา “ดินสอพอง” รักษาให้หายได้เหมือนเดิม ซึ่งสูตรดังกล่าวนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางมาแต่โบราณแล้ว เพราะได้ผลดีระดับหนึ่ง ประกอบกับ “ดินสอพอง” ที่ใช้รักษาหาง่ายมีวางขายทั่วไป
ปัจจุบัน สูตรดังกล่าว ได้ถูกลืมไปแล้ว จึงนำเสนอเพื่อให้เป็นทางเลือกและ อนุรักษ์ไว้เป็นมรดกไทยไม่ให้สูญหายไปในอนาคต ใครที่มีอาการปวดตาปลาทดลองเอา “ดินสอพอง” ไปรักษาดู จะช่วยให้หายได้อย่างเหลือเชื่อ
ดอกดีปลี กับสูตรแก้ภูมิแพ้
สมุนไพร ที่ใช้รักษาอาการของโรคภูมิแพ้มีมากมายหลายสูตร เคยแนะนำไปบ้างแล้วและมีอีกวิธีหนึ่งที่นิยมใช้เป็นทางเลือกมาช้านานได้ผลดีระดับหนึ่ง เป็นสูตรที่ใช้ได้กับคนทุกธาตุ คือ ให้เอา “ดอกดีปลี” 30 กรัม เหง้าตะไคร้ 30 กรัม ขิง 30 กรัม ทั้งหมดเป็นแบบแห้ง และ ใบหนุมานประสานกาย แบบสด 40 ใบย่อย ต้มรวมกันกับน้ำ เยอะหน่อยจนเดือดดื่มก่อนอาหารครึ่งแก้ว เช้า-เย็น ดื่มไปเรื่อยๆ อาการของโรคภูมิแพ้ หลอดลมอักเสบ มีเสมหะเยอะจะค่อยๆดีขึ้น ให้ต้มดื่มจนกว่าจะหาย
ดีปลี หรือ LONG PEPPER, PIRER RETI-ROFLACTUM VAHL. อยู่ในวงศ์ PIPERACEAE ผลแก่จัดแต่ยังไม่สุกตากแห้งเป็นยาขับลม บำรุงธาตุ แก้ท้องเสีย ขับรกหลังคลอด โดยใช้ผล 10-15 ผล ต้มเอาน้ำดื่มช่วยแก้ไอด้วย ผลแห้งครึ่งผลฝนกับน้ำมะนาวเกลือป่นใช้กวาดคอ หรือจิบบ่อยๆ มีฤทธิ์ขับลมและแก้ไอได้ ขิง มีสรรพคุณส่วนใหญ่เป็นยาขับลม ขับเสมหะ หนุมานประสานกาย ใบแก้อาเจียนเป็นเลือด ตำพอกแผลห้ามเลือด สารสกัดจากใบ มีฤทธิ์ขยายหลอดลม ตะไคร้ ส่วนใหญ่เป็นยาขับลม ขับเสมหะ
ดอกตูมผักบุ้งแดง แก้กลากเกลื้อน
ดอนเป็นเด็กบ้านนอกจำได้ว่าเวลามีใครเป็นกลากและเกลื้อน
ซึ่งในยุคสมัยก่อนคนเป็นกันเยอะ บางคนเป็นในที่ลับไม่กล้าบอกใครเพราะอาย
ในยุคนั้นผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีความรู้เรื่องยาแผนไทย ให้เอา “ดอกผักบุ้งแดง”
หรือ ผักบุ้งนา มีขึ้นหรือทอดเลื้อยตามผืนนาช่วงหน้าแล้งมากมาย 5-10
ดอก หรือตามต้องการแบบสด ขยี้หรือตำ
ทาบริเวณที่เป็นบ่อยๆจะค่อยๆดีขึ้นและแห้งหายได้ในที่สุด
ผักบุ้งแดง หรือ LPOMOEA AQUA-TICA FORSK อยู่ในวงศ์
CONVOLVULA-CEAE ใน “ผักบุ้งแดง”
มีสารชนิดหนึ่งที่มีโครงสร้างคล้าย “อินซูลิน”
ช่วยลดน้ำตาลในกระแสเลือด สำหรับคนเป็นโรคเบาหวานได้
น้ำคั้นจากต้นและใบผสมเกลือป่นเล็กน้อยอม 2 นาทีแล้วบ้วนทิ้ง
ทำวันละ 2 ครั้ง แก้ร้อนในได้ ทั้งต้นกินแก้กำเดาไหล แก้โรค
ประสาท การเสื่อมสมรรถภาพ โรคนอนไม่หลับ ถ่ายเป็นเลือด ยางเป็นยาถ่าย ราก
แก้ตกขาวสตรี แก้ปวดฟันที่เป็นรู เหงื่อออกมาก และลดบวม
ดินสอพอง แก้แผลเบาหวาน
ตำรายาแผนไทย ระบุว่า โรคเบาหวาน มี 2 ชนิด คือ ชนิดแห้ง กับ ชนิดเปียก ซึ่งโรคเบาหวานชนิดเปียกเวลาคนเป็นมาก ๆ แล้วมีแผลจะรักษาแผลให้หายได้ยากมากโดยเฉพาะเป็นแผลบริเวณขาหรือเท้า หรือ ส่วนอื่นตามร่างกายลุกลามจนไม่สามารถรักษาได้ แพทย์ต้องตัดขาทิ้งเป็นเรื่องน่ากลัวมาก
ใน ทางยาแผนไทยมีวิธีแก้หรือรักษาแผลที่เกิดจากโรคเบาหวานชนิดเปียกได้คือ ให้เอา “ดินสอ พอง” ยาฉุนเส้น และ เหล้าขาว 40 ดีกรี ทั้ง 3 อย่างกะจำนวนพอประมาณผสมกันนำไปปิดแผลที่เป็นโดยเปลี่ยนยา 3 เวลา เช้า กลางวัน เย็น ทำไปเรื่อยๆ ประกอบกับกินยาแผนปัจจุบันที่หมอสั่งให้ด้วย แผลที่เกิดจะค่อยๆ ดีขึ้นและแห้งได้ในที่สุด ไม่ต้องถูกตัดขาหรือตัดอวัยวะส่วนใดจากร่างกาย
อย่างไรก็ตาม ในตำรายาแผนไทยยังระบุอีกว่า ถ้าผู้ป่วยรายใด ไม่ได้กินยาแผนปัจจุบันสามารถเอา หมากสด ที่ใช้กินกับพลู 1 ผล ผ่า 4 ซีก ต้มกับน้ำ 1 ลิตรจนเดือด ดื่มครั้งละ 1 แก้ว เช้า กลางวัน เย็น จะช่วยลดเบาหวานได้ ทำให้มีผลต่อการรักษาแผลที่เกิดขึ้นด้วย สูตรนี้ใช้กันมาแต่โบราณ ได้ผลดีระดับหนึ่ง จึงแนะนำให้เป็นทางเลือกไปทดลองดู ถ้าได้ผลก็ขอให้บอกต่อๆกันไป เพื่อเป็นวิทยาทาน
ต้างหลวงใต้
ใบสวยมีสรรพคุณ
ต้างหลวงใต้
เป็นสายพันธุ์ที่พบขึ้นเฉพาะถิ่นทางภาคใต้เพียงแหล่งเดียวเท่านั้น
โดยมีขึ้นในป่าดิบชื้นบนเขาสูงเป็นกลุ่มๆริมห้วยริมลำธาร หรือตามหุบเขาทั่วไป ซึ่ง
“ต้างหลวงใต้”
จะมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์แตกต่างจากต้นต้างหลวงทั่วไปที่พบขึ้นทางภาคเหนือ
คือ ในส่วนโคนใบจะเป็นแผ่นทรงกลมรูปโล่แผ่กว้าง
มองเห็นชัดเจนแล้วมีหยักเว้าแบ่งเป็นร่อง 6-7 แฉก
ระหว่างเส้นแบ่งแฉกจะเป็นก้านใบย่อยแทงต่อเนื่องยาวพ้นระหว่างหยักทุกหยักเป็นก้านใบ
6-7ก้าน ตามภาพประกอบคอลัมน์
ใบย่อย เป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน หรือรูปใบหอกยาวและมีขนาดใหญ่ ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยตื้นๆและห่าง ผิวใบเรียบ สีเขียวสดเป็นมัน เวลามีใบดกจะดูสวยงามแปลกตามาก ซึ่งใบของ “ต้างหลวงใต้” แตกต่างจากใบของต้างหลวงทั่วไปที่โคนใบจะไม่มีแผ่นใบรูปโล่และหยักเว้า ส่วนลักษณะทางพฤกษศาสตร์อย่างอื่นเหมือนกันหมด รวมทั้งสรรพคุณทางสมุนไพรด้วย
ต้างหลวงใต้ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกับ ต้างหลวงทั่วไปคือ TREVESIA PALMATA VIS อยู่ในวงศ์ ARALIACEAE ลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 3-6 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับหนาแน่นบริเวณปลายต้น ก้านใบยาว โคนใบเป็นรูปโล่ทรงกลมและแผ่กว้าง ปลายหยักเว้าเป็นแฉก 6-7 แฉก ในระหว่างแฉกจะมีก้านใบย่อยแทงขึ้นเป็นร่องและยาวบนส่วนยอดของหยัก ใบย่อย 6-7ใบ แผ่กว้างคล้ายซี่ร่ม สวยงามเหมือนใบไม้ดึกดำบรรพ์น่าชมยิ่ง
ดอก ออกเป็นช่อตามลำต้นใกล้ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย เบียดกันหนาแน่นเป็นรูปทรงกลม มีกลีบดอก 6 กลีบ รูปรีแหลม สีเหลืองนวล ใจกลางดอกเป็นสีเหลืองเข้ม มีเกสรยาวโผล่พ้นกลีบดอกมองเห็นชัดเจน เวลามีดอกดกหลายช่อและดอกบานพร้อมกันทั้งต้น จะดูสวยงามน่ารักมาก ดอกออกได้เรื่อยๆ “ผล” เป็นผลสด รูปกรวยคว่ำ มีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
สรรพคุณทางสมุนไพร ดอกอ่อน ปรุงเป็นอาหารรับประทานหรือลวกจิ้มน้ำพริกรับประทานเป็นยาเจริญอาหาร สมัยก่อนหมอยาพื้นบ้านนิยมให้คนเป็น โรคเบื่ออาหารรับประทานอย่างแพร่หลาย เนื่องจากได้ผลดีระดับหนึ่ง ปัจจุบัน “ต้างหลวงใต้” มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ- พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 21 แผง “คุณพร้อมพันธุ์” ราคาสอบถามกันเองครับ.
ใบย่อย เป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน หรือรูปใบหอกยาวและมีขนาดใหญ่ ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยตื้นๆและห่าง ผิวใบเรียบ สีเขียวสดเป็นมัน เวลามีใบดกจะดูสวยงามแปลกตามาก ซึ่งใบของ “ต้างหลวงใต้” แตกต่างจากใบของต้างหลวงทั่วไปที่โคนใบจะไม่มีแผ่นใบรูปโล่และหยักเว้า ส่วนลักษณะทางพฤกษศาสตร์อย่างอื่นเหมือนกันหมด รวมทั้งสรรพคุณทางสมุนไพรด้วย
ต้างหลวงใต้ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกับ ต้างหลวงทั่วไปคือ TREVESIA PALMATA VIS อยู่ในวงศ์ ARALIACEAE ลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 3-6 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับหนาแน่นบริเวณปลายต้น ก้านใบยาว โคนใบเป็นรูปโล่ทรงกลมและแผ่กว้าง ปลายหยักเว้าเป็นแฉก 6-7 แฉก ในระหว่างแฉกจะมีก้านใบย่อยแทงขึ้นเป็นร่องและยาวบนส่วนยอดของหยัก ใบย่อย 6-7ใบ แผ่กว้างคล้ายซี่ร่ม สวยงามเหมือนใบไม้ดึกดำบรรพ์น่าชมยิ่ง
ดอก ออกเป็นช่อตามลำต้นใกล้ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย เบียดกันหนาแน่นเป็นรูปทรงกลม มีกลีบดอก 6 กลีบ รูปรีแหลม สีเหลืองนวล ใจกลางดอกเป็นสีเหลืองเข้ม มีเกสรยาวโผล่พ้นกลีบดอกมองเห็นชัดเจน เวลามีดอกดกหลายช่อและดอกบานพร้อมกันทั้งต้น จะดูสวยงามน่ารักมาก ดอกออกได้เรื่อยๆ “ผล” เป็นผลสด รูปกรวยคว่ำ มีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
สรรพคุณทางสมุนไพร ดอกอ่อน ปรุงเป็นอาหารรับประทานหรือลวกจิ้มน้ำพริกรับประทานเป็นยาเจริญอาหาร สมัยก่อนหมอยาพื้นบ้านนิยมให้คนเป็น โรคเบื่ออาหารรับประทานอย่างแพร่หลาย เนื่องจากได้ผลดีระดับหนึ่ง ปัจจุบัน “ต้างหลวงใต้” มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ- พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 21 แผง “คุณพร้อมพันธุ์” ราคาสอบถามกันเองครับ.
ตะคร้อ
ปลูกฟื้นฟูธรรมชาติดี
สาเหตุ
การเกิดอุทกภัยแต่ละครั้งปฏิเสธไม่ได้ว่า
ส่วนใหญ่เกิดจากฝีมือมนุษย์ที่ตัดไม้ทำลายป่าต้นน้ำมากเกินไป
จนทำให้ระบบนิเวศเสียหายและสร้างความเดือดร้อนอย่างกว้างขวาง
ซึ่งทางแก้ปัญหามีเพียงวิธีเดียวคือ
มนุษย์จะต้องช่วยกันปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูธรรมชาติให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ตราบใดที่มนุษย์ยังคงเอาเปรียบธรรมชาติ
ไม่หยุดตัดไม้ทำลายป่า หรือไม่ปรับชีวิตให้อยู่ได้กับธรรมชาติโดยไม่ทำลายป่า
เหตุการณ์อุทกภัยก็จะเกิดขึ้นแบบซ้ำแล้วซ้ำอีกไม่มีวันสิ้นสุด
ดังนั้น
การปลูกป่าเพื่อคืนธรรมชาติจึงเป็นหนทางที่มนุษย์ทุกคนจะต้องรีบรณรงค์และช่วยกันปลูกต้นไม้เพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ตอนนี้
แต่การ ปลูกป่าจะต้องรู้จักเลือกกล้าไม้
หรือพรรณไม้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ที่จะปลูก
ไม่ใช่จะเอากล้าไม้หรือพรรณไม้อะไรไปปลูกจุดไหนก็ได้ตามใจชอบ
เพราะหากเป็นกล้าไม้หรือพรรณไม้ไม่ถูกต้องหรือเหมาะสมจะทำให้ระบบนิเวศเสียเหมือนกัน
เช่น ป่าชายเลนจะต้องปลูกไม้โกงกาง เป็นต้น ส่วนป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง
หรือป่าดิบเขา จะต้องเป็นกล้าไม้ หรือพรรณไม้คนละอย่างกัน ซึ่งต้น “ตะคร้อ” เป็นไม้ป่าชนิดหนึ่งที่พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณทุกภาคของประเทศไทย
เหมาะจะ ใช้ เป็นกล้าไม้หรือพรรณไม้ปลูกฟื้นฟูธรรมชาติได้ดีตามป่าเชิง เขาทั่วไป
เมื่อต้น “ตะคร้อ” เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว
รากของต้นจะช่วยรักษาหน้าดิน
และอุ้มน้ำป้องกันไม่ให้ดินเชิงเขาสไลด์ตัว หรือน้ำไหลถล่มลงมาได้
ตะคร้อ หรือ CEYLON OAK SCHLEI-CHERA OLEOSA
(LOUR) OKEN อยู่ในวงศ์ SAPINDACEAE เป็นไม้ยืนต้น
สูง 10-25 เมตร ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 4-8 ใบ รูปรีแกมรูปขอบขนาน ใบดกและหนาแน่นมาก ดอก
ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง ช่อดอกห้อยลง
ดอกย่อยสีเหลืองแกมเขียว ไม่มีกลีบ
ดอก “ผล” รูปกลม
หรือรูปไข่ สีน้ำตาลปนเขียว เปลือกผลหนาและเหนียว มีเมล็ด 1-2 เมล็ด เนื้อหุ้มเมล็ดฉ่ำน้ำสีเหลือง รสเปรี้ยวจัดรับประทานได้
จิ้มเกลือพริกป่น หรือทำเป็นส้มตำ “ตะคร้อ” อร่อยมาก เมล็ด สามารถแกะส่วนที่อยู่ตรงกลางออก
เอาส่วนที่เหลือเป็นรูปโค้งมีเว้าเสียบติ่งหูทำเป็นต่างหูน่าชมมาก
เด็กๆบ้านนอกนิยมกันอย่างแพร่หลาย ดอกและผลจะมีช่วงฤดูร้อน
ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคมทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
มีชื่อเรียกตามพื้นที่ต่างๆของประเทศไทยมากมาย
ประโยชน์ เนื้อไม้ใช้ก่อสร้าง
ประเทศอินเดีย นิยมปลูกต้น “ตะคร้อ” เป็นที่เพาะเลี้ยง “ครั่ง”
สรรพคุณทางยา เปลือกต้นต้มน้ำดื่มเป็นยาสมานท้อง แก้ท้องร่วง
เมล็ดให้น้ำมันสกัดทำน้ำมันทาแก้ผมร่วงดีมาก ยาพื้นบ้านอีสาน
ใช้แก่นต้มน้ำดื่มแก้ฝีหนองครับ.
ตำแยแมว คนกินได้
ต้น 32 ประดง ยาดีหายาก
ตำแยแมว คนกินได้
ผู้อ่านไทยรัฐ
จำนวนมากอยากทราบว่า “ตำแยแมว”
ที่เคยแนะนำไปนั้น
นอกจากเป็นสมุนไพรที่แมวกินรากเป็นยาขับพิษและโรคในตัวแมวได้แล้ว
คนสามารถใช้ประโยชน์ทางสมุนไพรจากต้น “ตำแยแมว” ได้หรือไม่ และ มีสรรพคุณต่อคนในด้านไหน ซึ่งความจริงแล้ว คนสามารถใช้ “ตำแยแมว” เป็นสมุนไพรรักษาโรคได้เหมือนกัน
โดย ตำรายาพื้นบ้านระบุว่า ราก ของ “ตำแยแมว” ทำให้อวัยวะช่องทางเดินของอาหารเกิดอาการระคายเคือง นิยมเอาไว้ต้มดื่มเพื่อ เป็นยาขับเสมหะ แต่ต้องใช้เพียงเล็กน้อย หากใช้มากไปจะทำให้อาเจียน สามารถใช้แทน “อิปีแค้กคูแอนฮา” ของต่างประเทศได้ ใบสด ของ “ตำแยแมว” นำไปปรุงเป็นแกงเลียงให้เด็กรับประทานเป็นยาขับพยาธิเส้นด้ายให้ออกได้ดีมาก
แพทย์แผนไทย บางพื้นที่ระบุว่า ราก ของ “ตำแยแมว” กะเพียงเล็กน้อยต้มกับน้ำ 3-4 แก้วจนเดือด ดื่มวันละ 1 แก้ว ก่อนอาหารมื้อไหนก็ได้ จะช่วยบำรุงกำลัง ร่างกายแข็งแรง แก้ปวดเมื่อย กระจายเลือด และ ช่วยให้สมรรถภาพทางเพศดี อย่างไรก็ตาม ควรพิจารณาในการใช้ ไม่ควรรับประทานบ่อยและนานเกินไป เนื่องจากเป็นสูตรยาเดี่ยวนั่นเอง ใบสด ของ “ตำแยแมว” ยังนำไปตีหรือฟาดเบาๆตามตัวบริเวณที่ถูกพิษคันจากต้น ตำแยตัวเมีย ให้หายอาการคันได้อีกด้วย
ตำแยแมว หรือ ACALYPHA INDI-CA LINN. อยู่ในวงศ์ EUPHORBIACEAE เป็นไม้จำพวกหญ้า มีลักษณะตามภาพที่เสนอประกอบคอลัมน์ พบขึ้นตามที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป ซึ่ง “ตำแยแมว” ชนิดนี้เมื่อถูกหรือโดนตัวจะไม่เกิดอาการคันตามผิวหนัง มีชื่อ เรียกอีกคือ “ตำแยตัวผู้” ต้น ราก สดหรือแห้ง มี “แอลคาลอยด์” ACALYPHINE เรซินแทนนิน และ น้ำมันหอมระเหย ถ้าหาก ถอนทั้งต้นและรากทิ้งไว้ แมวเห็นจะวิ่งเข้าไปนอนเกลือกกลิ้งบนต้น “ตำแยแมว” อยู่นานพอควร จากนั้นจะกินรากของต้น “ตำแยแมว” จนหมด ทำให้เกิดอาเจียนออกมาทันที และเป็นยาช่วยถอนพิษของโรคต่างๆในตัวแมวจนหมด ทำให้แมวหายป่วยกลับมาแข็งแรงได้ จึงถูก เรียกชื่อว่า “ตำแยแมว” ดังกล่าว ปัจจุบันต้น “ตำแยแมว” มีขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผง “คุณตุ๊ก” หน้าตึกกองอำนวยการ และที่งาน “สมุนไพรแห่งชาติ” จัดขึ้นที่อิมแพค เมืองทองธานี ฮอลล์ 7–8 บริเวณโซนต้นไม้ ระหว่างวันที่ 31 ส.ค.–4 ก.ย. ที่จะถึงนี้ ราคาสอบถามกันเองครับ.
ตำลึงหวาน ยอดอร่อยมีสรรพคุณ
โดย ตำรายาพื้นบ้านระบุว่า ราก ของ “ตำแยแมว” ทำให้อวัยวะช่องทางเดินของอาหารเกิดอาการระคายเคือง นิยมเอาไว้ต้มดื่มเพื่อ เป็นยาขับเสมหะ แต่ต้องใช้เพียงเล็กน้อย หากใช้มากไปจะทำให้อาเจียน สามารถใช้แทน “อิปีแค้กคูแอนฮา” ของต่างประเทศได้ ใบสด ของ “ตำแยแมว” นำไปปรุงเป็นแกงเลียงให้เด็กรับประทานเป็นยาขับพยาธิเส้นด้ายให้ออกได้ดีมาก
แพทย์แผนไทย บางพื้นที่ระบุว่า ราก ของ “ตำแยแมว” กะเพียงเล็กน้อยต้มกับน้ำ 3-4 แก้วจนเดือด ดื่มวันละ 1 แก้ว ก่อนอาหารมื้อไหนก็ได้ จะช่วยบำรุงกำลัง ร่างกายแข็งแรง แก้ปวดเมื่อย กระจายเลือด และ ช่วยให้สมรรถภาพทางเพศดี อย่างไรก็ตาม ควรพิจารณาในการใช้ ไม่ควรรับประทานบ่อยและนานเกินไป เนื่องจากเป็นสูตรยาเดี่ยวนั่นเอง ใบสด ของ “ตำแยแมว” ยังนำไปตีหรือฟาดเบาๆตามตัวบริเวณที่ถูกพิษคันจากต้น ตำแยตัวเมีย ให้หายอาการคันได้อีกด้วย
ตำแยแมว หรือ ACALYPHA INDI-CA LINN. อยู่ในวงศ์ EUPHORBIACEAE เป็นไม้จำพวกหญ้า มีลักษณะตามภาพที่เสนอประกอบคอลัมน์ พบขึ้นตามที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป ซึ่ง “ตำแยแมว” ชนิดนี้เมื่อถูกหรือโดนตัวจะไม่เกิดอาการคันตามผิวหนัง มีชื่อ เรียกอีกคือ “ตำแยตัวผู้” ต้น ราก สดหรือแห้ง มี “แอลคาลอยด์” ACALYPHINE เรซินแทนนิน และ น้ำมันหอมระเหย ถ้าหาก ถอนทั้งต้นและรากทิ้งไว้ แมวเห็นจะวิ่งเข้าไปนอนเกลือกกลิ้งบนต้น “ตำแยแมว” อยู่นานพอควร จากนั้นจะกินรากของต้น “ตำแยแมว” จนหมด ทำให้เกิดอาเจียนออกมาทันที และเป็นยาช่วยถอนพิษของโรคต่างๆในตัวแมวจนหมด ทำให้แมวหายป่วยกลับมาแข็งแรงได้ จึงถูก เรียกชื่อว่า “ตำแยแมว” ดังกล่าว ปัจจุบันต้น “ตำแยแมว” มีขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผง “คุณตุ๊ก” หน้าตึกกองอำนวยการ และที่งาน “สมุนไพรแห่งชาติ” จัดขึ้นที่อิมแพค เมืองทองธานี ฮอลล์ 7–8 บริเวณโซนต้นไม้ ระหว่างวันที่ 31 ส.ค.–4 ก.ย. ที่จะถึงนี้ ราคาสอบถามกันเองครับ.
ตำลึงหวาน ยอดอร่อยมีสรรพคุณ
ไม้ต้นนี้
มีปลูกเป็นพืชครัวทางภาคเหนือมาช้านานแล้ว โดยมีชื่อพื้นเมืองว่า อ่อมแซบ, เบญจรงค์ 5 สี, ลืมผัว และ บุษบาริมทาง ส่วนชื่อ “ตำลึงหวาน” เป็นชื่อเรียกเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่
ซึ่งต้น “ตำลึงหวาน” จะมีความเป็นพิเศษคือ
ยอดอ่อน ใบอ่อน มีรสหวานเป็นธรรมชาติ ชาวเหนือนิยมนำไปปรุงเป็นอาหารได้หลายอย่าง
ที่ขึ้นชื่อที่สุดคือใส่ แกงอ่อม
น้ำแกงจะมีรสหวานเป็นธรรมชาติไม่ต้องใส่ผงชูรสหรือน้ำตาลทรายเลย นอกจากนั้นยังใช้ทำเป็น
ผัดไฟแดง แกงจืด ชุบแป้งทอด ลวก หรือ กินสดกับน้ำพริกชนิดต่างๆอร่อยมาก
โดยส่วนที่ใช้ประโยชน์ได้แก่ ดอก ใบ และ ยอดอ่อน
ด้าน สรรพคุณสมุนไพรระบุว่า เมื่อรับประทาน “ตำลึงหวาน” แล้ว จะช่วยบำรุงเลือด บำรุงกำลัง และ บำรุงสายตา ซึ่งปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมบริโภคอย่างกว้างขวาง
ตำลึงหวาน หรือ JUSTICIA GANGETICA อยู่ในวงศ์ ACANTHACEAE เป็นไม้พุ่ม สูง 1.5-2.5 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปรีกว้าง ปลายแหลม โคนมน สีเขียวสด ใบยอดอ่อน และดอกสามารถใช้ประโยชน์เป็นอาหารตามที่กล่าวข้างต้น ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด มีด้วยกัน 5 สี จึงถูกเรียกชื่อว่า เบญจรงค์ 5 สี หรือ บุษบาริมทาง เนื่องจากสีของดอกสวยงามนั่นเอง “ผล” ขนาดเล็ก มีเมล็ด ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ปักกิ่งชำ มีต้นขายทั่วไปที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ต้องเดินสอบถามราคากันเอง เพราะแต่ละแผงไม่เท่ากัน ใครที่ชอบปลูกผักกินได้ที่มีความหวานเป็นธรรมชาติไม่น่าพลาดต้น “ตำลึงหวาน”
ด้าน สรรพคุณสมุนไพรระบุว่า เมื่อรับประทาน “ตำลึงหวาน” แล้ว จะช่วยบำรุงเลือด บำรุงกำลัง และ บำรุงสายตา ซึ่งปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมบริโภคอย่างกว้างขวาง
ตำลึงหวาน หรือ JUSTICIA GANGETICA อยู่ในวงศ์ ACANTHACEAE เป็นไม้พุ่ม สูง 1.5-2.5 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปรีกว้าง ปลายแหลม โคนมน สีเขียวสด ใบยอดอ่อน และดอกสามารถใช้ประโยชน์เป็นอาหารตามที่กล่าวข้างต้น ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด มีด้วยกัน 5 สี จึงถูกเรียกชื่อว่า เบญจรงค์ 5 สี หรือ บุษบาริมทาง เนื่องจากสีของดอกสวยงามนั่นเอง “ผล” ขนาดเล็ก มีเมล็ด ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ปักกิ่งชำ มีต้นขายทั่วไปที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ต้องเดินสอบถามราคากันเอง เพราะแต่ละแผงไม่เท่ากัน ใครที่ชอบปลูกผักกินได้ที่มีความหวานเป็นธรรมชาติไม่น่าพลาดต้น “ตำลึงหวาน”
ตำลึง–ข่อย–ข้าวสาร
แก้ปวดหัวข้างเดียว
อาการปวดหัวข้างเดียว
มีคนเป็นกันเยอะ ในทางสมุนไพรมีวิธีแก้ปวดได้เป็นครั้งๆคือ ให้เอา “ใบตำลึง” สด
กับ “ใบข่อย” แบบสดเหมือนกัน
กะจำนวนพอใช้ในแต่ละครั้ง และ ข้าวสารเหนียวหรือเจ้าก็ได้ 1 กำมือตำรวมกันจนละเอียด
ใส่น้ำลงไปพอเปียกคั้นเอาเฉพาะน้ำทาบริเวณศีรษะด้านที่ปวด
พอน้ำแห้งให้ทาใหม่เรื่อยๆ ครึ่งชั่วโมงอาการปวดจะหายได้ วิธีนี้ไม่ใช่การรักษาให้หายขาด
แต่เป็นการแก้อาการปวดเมื่อเกิดขึ้นเท่านั้น
ตำลึง หรือ COCCINIA GRANDIS LINN. VOIGT อยู่ในวงศ์ CUCURBITACEAE ยอดและผลอ่อนเป็นอาหาร รากและใบแก้ไข้ ใบขยี้ทาแก้คันถอนพิษปวดแสบปวดร้อน ใบมีน้ำย่อยชื่อ AMYLASE มีคุณสมบัติย่อยแป้ง มีวิตามินเอ บำรุงสายตา ใบแห้งและผลดิบลดน้ำตาลในเลือดได้
ข่อย หรือ STREBLUS ASPER LOUR. อยู่ในวงศ์ MORACEAE เป็นไม้ต้น สูง 5-10 เมตร เปลือกต้นแก้ท้องร่วง รำมะนาด บำรุงธาตุ เจริญอาหาร เป็นยาอายุวัฒนะ ดับพิษในกระดูกและเส้นเอ็น โรคผิวหนัง เนื้อไม้ทำสมุดเรียกว่า “สมุดไทย” หรือ “สมุดข่อย” เชียงใหม่ใช้มวนยาสูบเรียกว่า “ไชโย” หรือ “ขี้โย” กิ่งทุบปลายสีฟันทำให้ฟันทน ใบสดปิ้งไฟชงน้ำดื่มเป็นยาระบายอ่อนๆ
ตำลึง หรือ COCCINIA GRANDIS LINN. VOIGT อยู่ในวงศ์ CUCURBITACEAE ยอดและผลอ่อนเป็นอาหาร รากและใบแก้ไข้ ใบขยี้ทาแก้คันถอนพิษปวดแสบปวดร้อน ใบมีน้ำย่อยชื่อ AMYLASE มีคุณสมบัติย่อยแป้ง มีวิตามินเอ บำรุงสายตา ใบแห้งและผลดิบลดน้ำตาลในเลือดได้
ข่อย หรือ STREBLUS ASPER LOUR. อยู่ในวงศ์ MORACEAE เป็นไม้ต้น สูง 5-10 เมตร เปลือกต้นแก้ท้องร่วง รำมะนาด บำรุงธาตุ เจริญอาหาร เป็นยาอายุวัฒนะ ดับพิษในกระดูกและเส้นเอ็น โรคผิวหนัง เนื้อไม้ทำสมุดเรียกว่า “สมุดไทย” หรือ “สมุดข่อย” เชียงใหม่ใช้มวนยาสูบเรียกว่า “ไชโย” หรือ “ขี้โย” กิ่งทุบปลายสีฟันทำให้ฟันทน ใบสดปิ้งไฟชงน้ำดื่มเป็นยาระบายอ่อนๆ
เตยหอม–ฟ้าทะลายโจร แก้ร้อนใน
อาการร้อนใน
เกิดจากหลายสาเหตุและมีคนเป็นกันเยอะ ไม่ใช่ร้อนในเพราะมีไข้
แต่เป็นอาการที่เกิดขึ้นเฉพาะบุคคลไม่รุนแรง ปากแห้ง คอแห้ง ตัวร้อนคล้ายคนเป็นไข้
มีอาการเป็นประจำทุกวัน ทำให้รู้สึกรำคาญแก้ไขไม่ได้ ในทางสมุนไพร มีวิธีช่วยคือ
ให้ เอา ใบ "เตยหอม" แบบสดหั่น 15 กรัม กับใบ "ฟ้าทะลายโจร" ตากแห้ง 15
กรัม ต้มกับน้ำท่วมยาจนเดือด ดื่มเช้า กลางวัน เย็น ก่อนอาหารประจำ
จะทำให้อาการร้อนในดีขึ้น และ ถ้าต้องการหายขาดมีข้อปฏิบัติคือ ห้ามดื่มน้ำหลังอาหารครั้งละมากๆ
กินข้าวให้ตรงเวลา สุดท้ายออกกำลังกายทุกวัน อาการร้อนในจะหายได้ในที่สุด
เตยหอม หรือ PANDANUS ODORUS อยู่ในวงศ์ PANDANACEAE นิยมปลูกและมีต้นขายทั่วไป ใบรองก้นหวดนึ่งข้าวเหนียว ทำให้มีกลิ่นหอมน่ารับประทาน ทุบพอช้ำใส่กระทะน้ำตาลปีบละลายน้ำเคี่ยวจนเดือด มีกลิ่นหอมเป็นน้ำตาลสด สรรพคุณทางสมุนไพร ใบต้มน้ำดื่มบำรุงหัวใจ ทำให้จิตใจ ผ่องใสชุ่มชื่น ต้นกับรากต้มดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ แก้กษัยน้ำเบาพิการ ปัจจุบันโรงพยาบาลบางแห่งต้มน้ำใบ "เตยหอม" ให้คนป่วยที่นอนรักษาอาการดื่มด้วย
ฟ้าทะลายโจร หรือ ANDRO GRAPHIS PANI-CULATA (BURM.F.) NEES อยู่ในวงศ์ ACANTHACEAE มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงตรงกัน ข้ามโครงการ 9 ราคาสอบถามกันเอง สรรพคุณทางยา ใบหรือต้น เก็บก่อนจะมีดอก ต้มน้ำดื่มเป็น ยาแก้เจ็บคอ แก้ท้องเสีย แก้ไข้ และเป็นยาขมช่วยเจริญอาหาร
เตยหอม หรือ PANDANUS ODORUS อยู่ในวงศ์ PANDANACEAE นิยมปลูกและมีต้นขายทั่วไป ใบรองก้นหวดนึ่งข้าวเหนียว ทำให้มีกลิ่นหอมน่ารับประทาน ทุบพอช้ำใส่กระทะน้ำตาลปีบละลายน้ำเคี่ยวจนเดือด มีกลิ่นหอมเป็นน้ำตาลสด สรรพคุณทางสมุนไพร ใบต้มน้ำดื่มบำรุงหัวใจ ทำให้จิตใจ ผ่องใสชุ่มชื่น ต้นกับรากต้มดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ แก้กษัยน้ำเบาพิการ ปัจจุบันโรงพยาบาลบางแห่งต้มน้ำใบ "เตยหอม" ให้คนป่วยที่นอนรักษาอาการดื่มด้วย
ฟ้าทะลายโจร หรือ ANDRO GRAPHIS PANI-CULATA (BURM.F.) NEES อยู่ในวงศ์ ACANTHACEAE มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงตรงกัน ข้ามโครงการ 9 ราคาสอบถามกันเอง สรรพคุณทางยา ใบหรือต้น เก็บก่อนจะมีดอก ต้มน้ำดื่มเป็น ยาแก้เจ็บคอ แก้ท้องเสีย แก้ไข้ และเป็นยาขมช่วยเจริญอาหาร
เตยหอม
ขับหินปูนตามข้อได้
ตำรายาแผนไทย ระบุว่า
"เตยหอม" นอกจากมีประโยชน์ทางอาหาร และเป็นสมุนไพรรักษาโรคได้หลายอย่างแล้ว
ถ้าเอาใบสด จำนวน 4 ใบ
พร้อมใบสดรางจืด 8 ใบ ต้มกับน้ำ 1 ลิตร
จนเดือดและเคี่ยว 15 นาที ดื่มขณะอุ่นครั้งละครึ่งแก้ว เช้า
กลางวัน เย็น จะช่วยขับหินปูนตามข้อต่อให้ออกได้และทำให้ไม่ปวดข้อเดินได้สะดวกขึ้น
นอกจากนั้น ยังเป็นยาช่วยล้างพิษในร่างกายได้อีกด้วย ต้มดื่มติดต่อกัน 3 วัน เว้น 1 อาทิตย์ต้มดื่มต่อ
และสามารถต้มดื่มได้เรื่อยๆ ไม่มีอันตรายอะไร
เตยหอม หรือ PANDANUS ODORUS อยู่ในวงศ์ PANDANACEAE นิยมปลูกตามบ้านและมีใบจำหน่ายตามตลาดสดทั่วไป ประโยชน์ทางยาเฉพาะ ใบมีรสเย็นหอม บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื้น โดยในการทำ "ข้าวกระยาคู" ซึ่งใช้ ข้าวน้ำนมกับนมสด จะต้องใส่ใบ "เตยหอม" ด้วย เมื่อรับประทานแล้วจะทำให้เกิดกำลัง มีจิตใจผ่องใส ต้นและรากใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้กระษัยน้ำ เบาพิการได้ดีมาก
รางจืด หรือ MILLETIA KITYANA อยู่ในวงศ์ PAPILIONEAE เป็นไม้เถาเลื้อย ดอกสีม่วง ประโยชน์ทางยา "รางจืด" มีรสเย็น ใช้ถอนพิษและยาเบื่อเมา ใช้ปรุงเป็นยาเขียวถอนพิษไข้และพิษทั้งปวง รากและเถากินเป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ พิษร้อนทั้งปวง ซึ่งคนทั่วไปจะรู้จักและคุ้นเคยกับต้น "รางจืด" เป็นอย่างดี และนิยมปลูกในบริเวณบ้านแพร่หลาย เพื่อใช้ประโยชน์ตามที่กล่าวข้างต้น
เตยหอม หรือ PANDANUS ODORUS อยู่ในวงศ์ PANDANACEAE นิยมปลูกตามบ้านและมีใบจำหน่ายตามตลาดสดทั่วไป ประโยชน์ทางยาเฉพาะ ใบมีรสเย็นหอม บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื้น โดยในการทำ "ข้าวกระยาคู" ซึ่งใช้ ข้าวน้ำนมกับนมสด จะต้องใส่ใบ "เตยหอม" ด้วย เมื่อรับประทานแล้วจะทำให้เกิดกำลัง มีจิตใจผ่องใส ต้นและรากใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้กระษัยน้ำ เบาพิการได้ดีมาก
รางจืด หรือ MILLETIA KITYANA อยู่ในวงศ์ PAPILIONEAE เป็นไม้เถาเลื้อย ดอกสีม่วง ประโยชน์ทางยา "รางจืด" มีรสเย็น ใช้ถอนพิษและยาเบื่อเมา ใช้ปรุงเป็นยาเขียวถอนพิษไข้และพิษทั้งปวง รากและเถากินเป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ พิษร้อนทั้งปวง ซึ่งคนทั่วไปจะรู้จักและคุ้นเคยกับต้น "รางจืด" เป็นอย่างดี และนิยมปลูกในบริเวณบ้านแพร่หลาย เพื่อใช้ประโยชน์ตามที่กล่าวข้างต้น
ต้น 32 ประดง ยาดีหายาก
ผมเคยเขียนถึงไม้ต้นนี้ไปนานแล้ว จำได้ว่าในฉบับวันที่ 13
ต.ค.42 พร้อมบรรยายสรรพคุณและแหล่งจำหน่ายต้นไว้อย่างครบถ้วน
แต่มีผู้อ่านไทยรัฐ ไม่น้อยที่พลาดการติตตามรายละเอียด
ขอให้ลงเรื่อง "ต้น 32 ประดง"
พร้อมบอกที่ขายอีกครั้ง จะได้ซื้อไปปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ทางยา
เป็นจังหวะ พอดีที่ผู้ขาย "ต้น 32
ประดง" รายเดิมบอกว่า ปัจจุบันไม้ต้นนี้หายากแล้ว
แต่ยังพอมีติดสวนไม่มากนัก จึงรีบสนอง
ความต้องการผู้อ่านทันที
ต้น 32 ประดง เป็นไม้ในตระกูลเดียวกับกาหลงและชงโค แต่จะเป็นไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่ ต้นหรือเถาสามารถเลื้อยได้ไกล 10-20 เมตร แตกกิ่งก้านเยอะ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปค่อนข้างกลม ปลายเว้าลึกจนถึงโคนใบ แยกเป็นแฉก 2 ใบคู่ แต่ละใบที่แยกจากกันจะเป็นอิสระกันด้วย เส้นใบมี 6 เส้น แทงขึ้นจากโคนใบไปจดปลายใบคล้ายกับใบกาหลงและใบชงโค ใบอ่อนเป็นสีเขียวปนน้ำตาล
ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง แต่ละช่อประกอบ ด้วยดอกย่อยเป็นกลุ่มหนาแน่น ดอกเป็นสีส้มปนน้ำตาลถึงแดง เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะน่าชมยิ่ง "ผล" เป็นฝักแบน เมื่อแก่แตกได้ ภาย ในมีเมล็ดหลายเมล็ด ดอกออกช่วงฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคมต่อเนื่องไปจนถึงเดือนพฤษภาคม ของทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง หรืออาจปักชำกิ่งได้
สรรพคุณทางยา ตำรายาแผนไทยระบุว่า ราก และ ลำต้น ตัดเป็นชิ้นๆ นำไปตากแห้งแล้วใช้ฝนกับน้ำทารักษาฝี หนอง หรือต้มน้ำเดือดดื่มขณะอุ่นแก้ปวดตามข้อ ตามเส้นเอ็นเรียกว่า (ประดงเส้นเอ็น) ได้ แก้ลมที่เกิดจาก
ประดงไฟ ประดงลม ดอก นำไปตากแห้งเช่นกัน แล้วห่อผ้าขาวดองกับเหล้าขาว 40 ดีกรี บางคน ใช้ 28 ดีกรี ได้เหมือนกัน ดองจนตัวยาออก ดื่มวันละไม่เกิน 2 แก้วเป๊ก ก่อนอาหารเช้าและเย็น จะช่วยให้เจริญอาหาร และรักษาโรคประดงต่างๆได้อีกกว่า 30 ชนิด จึงถูกเรียกว่า "ต้น 32 ประดง" ดังกล่าว
สมัยก่อน คนเป็นโรคประดงกันเยอะ ซึ่งโรคนี้ส่วนใหญ่จะมีอาการเกี่ยวกับผิวหนัง คันตามตัว เป็นตุ่มหนองใสตามร่างกายหรือตามใบหน้า เป็นแล้วจะมีอาการคันมาก คะเยอไปทั้งตัว คนเห็นไม่อยากจะเข้าใกล้และแสดงอาการรังเกียจทันที ซึ่งในยุคสมัยนั้นหมอยาพื้นบ้านจะเจียดยาจาก "ต้น 32 ประดง" ให้ไปรับประทานหายได้ ปัจจุบัน "ต้น 32 ประดง" มีขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 21 แผง "คุณพร้อม-พันธุ์" ราคาสอบถามกันเองครับ.
ต้น 32 ประดง เป็นไม้ในตระกูลเดียวกับกาหลงและชงโค แต่จะเป็นไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่ ต้นหรือเถาสามารถเลื้อยได้ไกล 10-20 เมตร แตกกิ่งก้านเยอะ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปค่อนข้างกลม ปลายเว้าลึกจนถึงโคนใบ แยกเป็นแฉก 2 ใบคู่ แต่ละใบที่แยกจากกันจะเป็นอิสระกันด้วย เส้นใบมี 6 เส้น แทงขึ้นจากโคนใบไปจดปลายใบคล้ายกับใบกาหลงและใบชงโค ใบอ่อนเป็นสีเขียวปนน้ำตาล
ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง แต่ละช่อประกอบ ด้วยดอกย่อยเป็นกลุ่มหนาแน่น ดอกเป็นสีส้มปนน้ำตาลถึงแดง เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะน่าชมยิ่ง "ผล" เป็นฝักแบน เมื่อแก่แตกได้ ภาย ในมีเมล็ดหลายเมล็ด ดอกออกช่วงฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคมต่อเนื่องไปจนถึงเดือนพฤษภาคม ของทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง หรืออาจปักชำกิ่งได้
สรรพคุณทางยา ตำรายาแผนไทยระบุว่า ราก และ ลำต้น ตัดเป็นชิ้นๆ นำไปตากแห้งแล้วใช้ฝนกับน้ำทารักษาฝี หนอง หรือต้มน้ำเดือดดื่มขณะอุ่นแก้ปวดตามข้อ ตามเส้นเอ็นเรียกว่า (ประดงเส้นเอ็น) ได้ แก้ลมที่เกิดจาก
ประดงไฟ ประดงลม ดอก นำไปตากแห้งเช่นกัน แล้วห่อผ้าขาวดองกับเหล้าขาว 40 ดีกรี บางคน ใช้ 28 ดีกรี ได้เหมือนกัน ดองจนตัวยาออก ดื่มวันละไม่เกิน 2 แก้วเป๊ก ก่อนอาหารเช้าและเย็น จะช่วยให้เจริญอาหาร และรักษาโรคประดงต่างๆได้อีกกว่า 30 ชนิด จึงถูกเรียกว่า "ต้น 32 ประดง" ดังกล่าว
สมัยก่อน คนเป็นโรคประดงกันเยอะ ซึ่งโรคนี้ส่วนใหญ่จะมีอาการเกี่ยวกับผิวหนัง คันตามตัว เป็นตุ่มหนองใสตามร่างกายหรือตามใบหน้า เป็นแล้วจะมีอาการคันมาก คะเยอไปทั้งตัว คนเห็นไม่อยากจะเข้าใกล้และแสดงอาการรังเกียจทันที ซึ่งในยุคสมัยนั้นหมอยาพื้นบ้านจะเจียดยาจาก "ต้น 32 ประดง" ให้ไปรับประทานหายได้ ปัจจุบัน "ต้น 32 ประดง" มีขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 21 แผง "คุณพร้อม-พันธุ์" ราคาสอบถามกันเองครับ.
ตับปลาช่อน
แก้ตาฟางกลางคืน
ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
นอกจากจะใช้สมุนไพรในการรักษาอาการของโรคภัยไข้เจ็บต่างๆได้แล้ว
บางโรคยังใช้อวัยวะบางส่วนของสัตว์ชนิดต่างๆรักษาได้อีกด้วย ซึ่ง
"ตับปลาช่อน"
จัดอยู่ในสูตรหนึ่งของการแก้โรคตาฟางในตอนกลางคืนที่สมัยก่อนมีคนเป็นกันเยอะ
ส่วนใหญ่เกิดกับผู้สูงอายุ โดยในตอน กลางวันตาจะมองเห็นเหมือนคนปกติทุกอย่าง
ไม่มีปัญหาอะไร แต่เมื่อถึงเวลาพลบค่ำหรือมืดลงตาจะมีอาการฝ้าฟางมองอะไรไม่ค่อยจะเห็น
หรือไม่เห็นอะไรเลย คนในยุคสมัยนั้นเรียกอาการแบบนี้ว่า "ตาบอดกลางคืน"
พอรุ่งเช้าจะมองเห็นเป็นปกติเช่นเดิม ใน การรักษา
หมอยาพื้นบ้านสมัยก่อนมีวิธีง่ายๆ คือ ให้เอา "ตับปลาช่อน"
แบบสดไม่ต้องใส่ เกลือหรืออะไรจำนวน 5 ตับ เสียบไม้ย่างไฟอ่อนๆ พอสุก
อย่าให้เกรียมไหม้หรือแห้งดำ กินเปล่าๆทั้ง 5 ตับ
ไม่ต้องกินกับข้าว ทั้งเช้าและเย็น 2 เวลา ก่อนอาหาร
ทำรับประทานเรื่อยๆ ควบกับยาที่แพทย์จักษุจากโรงพยาบาลจัดให้
ไม่นานอาการตาฟางกลางคืนหรือ "ตาบอดกลาง คืน" จะค่อยๆดีขึ้นและหายขาดในที่สุด อย่างไรก็ตาม
"ตับปลาช่อน" จะว่าหาง่ายก็ไม่เชิง
เนื่องจากปลาช่อนมีขายทั่วไปตามตลาดสดทุกแห่ง แต่
ส่วนใหญ่เมื่อผู้ซื้อแล้วมักจะนำเอาพุงปลาช่อนหรือเครื่องในปลาช่อนที่มีตับติดอยู่ไปด้วย
จะเอาทิ้งก็เฉพาะดีปลาช่อนที่มีรสขมเท่านั้น เนื่องจากนำไปปรุงเป็นอาหารแล้วส่วนดังกล่าวจะมีความอร่อยมากนั่นเอง
ดังนั้นใครที่มีอาการตาฟางกลางคืนต้องการ "ตับปลาช่อน"
ไปย่างรับประทานจึงจะต้องใช้ความพยายามมากหน่อย แต่จะคุ้มกับผลที่ได้รับ
ตะไคร้ กับสูตรแก้โรคตา
สมัยก่อน
คนมีอาการทางตากันเยอะ โดยมักจะเป็นตาบวม ตาแห้ง และตาแดง
อย่างกะทันหันแบบอยู่ๆก็เป็นขึ้นมาไม่ได้ติดเชื้อโรคมาจากที่อื่น
เมื่อเป็นแล้วจะแย่มากเนื่องจากบ้านอยู่ไกลตัวเมืองหรืออยู่ไกลสุขศาลา ดังนั้น
ส่วนใหญ่จึงต้องอาศัยหมอยาพื้นบ้านให้เจียดยารักษาให้ ซึ่ง "ตะไคร้"
ก็เป็นสูตรหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในยุคนั้น โดยให้เอา "ตะไคร้"
ชนิดสด กะจำนวนพอประมาณ 5-7 ต้นก็ได้
ตัดเป็นท่อนต้มกับน้ำประมาณลิตรครึ่งจนเดือดเทเอาเฉพาะน้ำใส่กะละมังพออุ่นหรือเย็นแล้วเอาเท้าทั้ง
2 ข้างลงแช่ 20-30 นาที ต้มแช่ 3
เวลา เช้ากลางวันเย็น จะรู้สึกว่าอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นและหายได้
สามารถต้มแช่ได้เรื่อยๆ
หากเกิดจากการติดเชื้อโรคไม่ต้องใช้วิธีนี้รีบไปพบจักษุแพทย์ดีที่สุด
ตะไคร้ หรือ CYMBOPOGON CITRATUS (DC.EXNEES-STAPF.) อยู่ในวงศ์ GRAMINAE มีสรรพคุณทางยาคือ ทั้งต้น
เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ แก้อหิวาตกโรค เป็นยาทานวดก็ได้ หัว
รักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้อาการขัดเบา
ใบสด ช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้ ราก เป็นยาแก้ไข้เหนือ ปวดท้อง ท้องเสีย ต้น
เป็นยาขับลม แก้เบื่ออาหาร แก้ผมแตกปลาย แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุให้เจริญ
ใช้ปรุงเป็นอาหารหลายอย่าง เป็นส่วน ประกอบของเครื่องแกงเพิ่มรสชาติให้ อร่อยดีมาก
ตะไคร้ต้น หายากประโยชน์ดี
ตะไคร้ต้น หายากประโยชน์ดี
ไม้ต้นนี้
พบขึ้นตามป่าดิบเขาทุกภาคของประเทศไทย
พบมากที่สุดทางภาคเหนือตามตะเข็บรอยต่อชายแดนไทยพม่า ในภาคอื่นมีน้อยมาก ซึ่งราก
และ แก่น ของไม้ต้นนี้จะมีกลิ่นหอมเหมือนกับกลิ่น ตะไคร้ แกง ตะไคร้กอ
หรือที่ชาวบ้านชอบเรียกคือ ตะไคร้บ้าน ที่มีวางขายตามตลาดสดทั่วไป
และนิยมนำไปปรุงอาหารทุกอย่าง ชาวบ้านในท้องถิ่นที่มี "ตะไคร้ ต้น"
ขึ้นอยู่ ในยุคสมัยก่อนจะเอารากและแก่นไปทำเป็นไม้ตีพริก
หรือสากไว้ใช้ในครัวเรือนอย่างกว้างขวาง
ทั้งนี้ หากวันไหนหาต้นตะไคร้แกง ตะไคร้กอ หรือตะไคร้บ้าน ใช้ปรุงอาหารไม่ได้ ชาวบ้านจะเอา ไม้ตีพริกหรือสากที่ทำขึ้นจาก "ตะไคร้ต้น" ใช้มีดคมๆ ขูดเอาเนื้อไปปรุงอาหารแทนได้ สามารถดับกลิ่นคาว มีกลิ่นหอม เพิ่มรสชาติให้อาหารอร่อยเหมือนกับปรุงด้วยตะไคร้แกง ตะไคร้กอ หรือตะไคร้บ้านทุกอย่าง จึงถูกเรียกชื่อว่า "ตะไคร้ต้น" เรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน
ตะไคร้ต้น นอกจากรากและแก่นจะมีกลิ่นหอมเหมือนกับกลิ่นตะไคร้แกง ตะไคร้กอ และตะไคร้บ้านแล้ว "ตะไคร้ต้น" ยังมีประโยชน์ทางยาอีกด้วย โดยแพทย์ ชนบทใช้รากต้มรับประทานเป็นยาขับลมในลำไส้ ทำให้ผายลมและเรอได้ดี แก้ปัสสาวะพิการ เนื้อไม้ใช้ปรุงกับ เถาสะค้าน และ ต้นดาวเรือง รักษาฝีลม ปรุงเป็นยาหอม แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อจุกเสียด ขับลมในลำไส้ บำรุงธาตุได้ดีเช่นเดียวกัน ในยุคสมัยก่อนนิยมกันอย่างแพร่หลาย ปัจจุบันมีใช้เฉพาะถิ่นทางภาคเหนือไม่กี่พื้นที่เท่านั้น
ตะไคร้ต้น หรือ CIN-NAMOMUM ILICIOIDES CHEVAL อยู่ในวงศ์ LAU-RACEAE เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูง 10-15 เมตร ลำต้นอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีเทา ผิวเปลือกเรียบ เปลือกบาง แตกกิ่งก้านหนาแน่น ส่วนปลายต้นเป็นพุ่มกว้าง เนื้อ ไม้เป็นสีนํ้าตาลอ่อน มีกลิ่นหอมฉุนเหมือนกับกลิ่นตะไคร้แกง ตะไคร้กอ หรือตะไคร้บ้าน เช่นเดียวกับราก ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ รูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายและโคนใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ เนื้อใบแข็งและกรอบ หน้าใบสีเขียวสด ท้องใบสีนวล
ดอก ออกเป็นช่อกระจะตามซอกใบ แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย 5-6 ดอก ลักษณะดอกกลม สีเหลืองเข้ม "ผล" กลม เมล็ดมีเยื่อสีแดงหุ้ม ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง มีชื่อเรียกอีกคือ ไม้จวง จวงหอม (ภาคใต้) กระเพราะต้น (สระบุรี) จะไค้ต้น (พายัพ) มือแด (ปัตตานี) ทางอาการ ยอด อ่อนลวกจิ้มนํ้าพริกต่างๆอร่อยมากครับ.
ทั้งนี้ หากวันไหนหาต้นตะไคร้แกง ตะไคร้กอ หรือตะไคร้บ้าน ใช้ปรุงอาหารไม่ได้ ชาวบ้านจะเอา ไม้ตีพริกหรือสากที่ทำขึ้นจาก "ตะไคร้ต้น" ใช้มีดคมๆ ขูดเอาเนื้อไปปรุงอาหารแทนได้ สามารถดับกลิ่นคาว มีกลิ่นหอม เพิ่มรสชาติให้อาหารอร่อยเหมือนกับปรุงด้วยตะไคร้แกง ตะไคร้กอ หรือตะไคร้บ้านทุกอย่าง จึงถูกเรียกชื่อว่า "ตะไคร้ต้น" เรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน
ตะไคร้ต้น นอกจากรากและแก่นจะมีกลิ่นหอมเหมือนกับกลิ่นตะไคร้แกง ตะไคร้กอ และตะไคร้บ้านแล้ว "ตะไคร้ต้น" ยังมีประโยชน์ทางยาอีกด้วย โดยแพทย์ ชนบทใช้รากต้มรับประทานเป็นยาขับลมในลำไส้ ทำให้ผายลมและเรอได้ดี แก้ปัสสาวะพิการ เนื้อไม้ใช้ปรุงกับ เถาสะค้าน และ ต้นดาวเรือง รักษาฝีลม ปรุงเป็นยาหอม แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อจุกเสียด ขับลมในลำไส้ บำรุงธาตุได้ดีเช่นเดียวกัน ในยุคสมัยก่อนนิยมกันอย่างแพร่หลาย ปัจจุบันมีใช้เฉพาะถิ่นทางภาคเหนือไม่กี่พื้นที่เท่านั้น
ตะไคร้ต้น หรือ CIN-NAMOMUM ILICIOIDES CHEVAL อยู่ในวงศ์ LAU-RACEAE เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูง 10-15 เมตร ลำต้นอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีเทา ผิวเปลือกเรียบ เปลือกบาง แตกกิ่งก้านหนาแน่น ส่วนปลายต้นเป็นพุ่มกว้าง เนื้อ ไม้เป็นสีนํ้าตาลอ่อน มีกลิ่นหอมฉุนเหมือนกับกลิ่นตะไคร้แกง ตะไคร้กอ หรือตะไคร้บ้าน เช่นเดียวกับราก ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ รูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายและโคนใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ เนื้อใบแข็งและกรอบ หน้าใบสีเขียวสด ท้องใบสีนวล
ดอก ออกเป็นช่อกระจะตามซอกใบ แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย 5-6 ดอก ลักษณะดอกกลม สีเหลืองเข้ม "ผล" กลม เมล็ดมีเยื่อสีแดงหุ้ม ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง มีชื่อเรียกอีกคือ ไม้จวง จวงหอม (ภาคใต้) กระเพราะต้น (สระบุรี) จะไค้ต้น (พายัพ) มือแด (ปัตตานี) ทางอาการ ยอด อ่อนลวกจิ้มนํ้าพริกต่างๆอร่อยมากครับ.
ถั่วขาวจีน
กินล้างพิษในตับ
คนส่วนใหญ่
จะคุ้นเคยและนิยมรับประทานเฉพาะถั่วดำหรือถั่วแดง แต่ "ถั่วขาวจีน"
น้อยคนนักจะรู้จัก จะมีขายเฉพาะแหล่ง เช่น ย่านเยาวราช หรือ ตลาด อตก. ซึ่ง
"ถั่วขาวจีน" สั่งนำเข้ามาจากประเทศจีน
ชาวจีนในไทยนิยมรับประทานกันอย่างกว้างขวาง ลักษณะรูปทรงคล้ายกับถั่วแดงหรือถั่วดำ
แต่จะเป็นสีขาวและมีขนาดเล็กกว่าอย่างชัดเจน เยื่อหุ้มเมล็ดก็เป็นสีขาว
ปรุงเป็นอาหารรับประทานอร่อยเหมือนกันกับถั่วดำและถั่วแดงทุกอย่าง
นอกเหนือจากปรุงเป็นอาหารแล้ว ในตำรายาจีนยังมีสูตรเอา "ถั่วขาวจีน" ปรุงเป็นยาล้างพิษในตับได้อีกด้วย โดยมี วิธีทำอย่างง่ายๆคือ เอา "ถั่วขาวจีน" กะจำนวนพอเหมาะ ไม่ต้องเอาเยื่อหุ้มเมล็ดออก ต้มกับนํ้ามากน้อยตามต้องการ ต้มไปจนเนื้อถั่วเปื่อยแล้วเอาแต่นํ้าที่ต้มได้กินวันละ 2 เวลา เช้าและเย็น ครั้งละ 3 ใน 4 ของแก้วนํ้า ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ จะเป็นสูตรโภชนาบำบัดช่วยล้างพิษในตับได้ ทำกินได้เรื่อยๆ ไม่ต้องกินประจำ ว่างเวลาไหนต้มกินได้ทันที
ในตำรายาแผนไทยมีสูตรล้างพิษในตับเหมือนกัน โดยเอา "รางจืดเถา" ชนิดดอกสีม่วงแบบสด 15 กรัม ต้มกับนํ้าจนเดือดดื่มวันละ 3 เวลา เช้า กลางวัน เย็น ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ ครั้งละ 1 แก้ว สามารถล้างพิษในตับได้ อย่างไรก็ตามสูตร "รางจืดเถา" เป็นสูตรยาเดี่ยว กินมากจะไม่ดี ต้มดื่มเดือนละวันพอได้ จึงอยากแนะว่าสูตร "ถั่วขาวจีน" จะดีกว่า ไม่มีผลข้างเคียงอะไร
นอกเหนือจากปรุงเป็นอาหารแล้ว ในตำรายาจีนยังมีสูตรเอา "ถั่วขาวจีน" ปรุงเป็นยาล้างพิษในตับได้อีกด้วย โดยมี วิธีทำอย่างง่ายๆคือ เอา "ถั่วขาวจีน" กะจำนวนพอเหมาะ ไม่ต้องเอาเยื่อหุ้มเมล็ดออก ต้มกับนํ้ามากน้อยตามต้องการ ต้มไปจนเนื้อถั่วเปื่อยแล้วเอาแต่นํ้าที่ต้มได้กินวันละ 2 เวลา เช้าและเย็น ครั้งละ 3 ใน 4 ของแก้วนํ้า ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ จะเป็นสูตรโภชนาบำบัดช่วยล้างพิษในตับได้ ทำกินได้เรื่อยๆ ไม่ต้องกินประจำ ว่างเวลาไหนต้มกินได้ทันที
ในตำรายาแผนไทยมีสูตรล้างพิษในตับเหมือนกัน โดยเอา "รางจืดเถา" ชนิดดอกสีม่วงแบบสด 15 กรัม ต้มกับนํ้าจนเดือดดื่มวันละ 3 เวลา เช้า กลางวัน เย็น ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ ครั้งละ 1 แก้ว สามารถล้างพิษในตับได้ อย่างไรก็ตามสูตร "รางจืดเถา" เป็นสูตรยาเดี่ยว กินมากจะไม่ดี ต้มดื่มเดือนละวันพอได้ จึงอยากแนะว่าสูตร "ถั่วขาวจีน" จะดีกว่า ไม่มีผลข้างเคียงอะไร
ถั่วลิสง-เล้ง บำรุงไต
ทั่วโลก
กำลังนิยมนำเอาธรรมชาติมาปรุงเป็นสูตรป้องกันโรคหลายชนิดและหลายสูตร
ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของการบริโภค ซึ่ง "ถั่วลิสง-เล้ง"
ก็เป็นอีกหนึ่งสูตรที่ปรุงรับประทานแล้ว ช่วยบำรุงไตให้แข็งแรงขึ้น
แต่ไม่ใช่รักษาไต โดยมีวิธีง่ายๆ คือ เอา ถั่วลิสงดิบแกะเยื่อหุ้มออก
กะจำนวนตามต้องการกับกระดูกสันหลังหมูหรือที่ชาวจีนเรียกว่า "เล้ง"
จำนวนตามต้องการเช่นกัน
แล้วต้มกับน้ำรวมกันจนเดือดให้เนื้อถั่วลิสงกับเนื้อหมูเปื่อย
จากนั้นกินเฉพาะน้ำวันละครั้ง ตอนไหนก็ได้ ครั้งละถ้วยซุป
จะช่วยบำรุงไตให้แข็งแรงยิ่งขึ้น เมื่อไตแข็งแรงแล้วทุกอย่างก็ดีด้วย
ขอย้ำไม่ใช่รักษาไต ทำกินได้เรื่อยๆ กินบ้างหยุดบ้างตามแต่สะดวก
สูตรนี้นิยมมาช้านานแล้ว จึงแนะนำผู้อ่านไทยรัฐตามระเบียบ
ส่วนใคร ที่เป็นโรคไตแล้ว ให้เอา "หญ้าไผ่น้ำ" แบบสด เคยแนะนำในคอลัมน์ไป ในฉบับวันที่ 27 ต.ค. 51 จำนวน 250 กรัม ต้มกับน้ำเยอะๆ เคี่ยวนานๆ แล้วเทดื่มขณะอุ่นวันละแก้วก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ เวลาไหนก็ได้ ต้มดื่มต่อเนื่อง 3 เดือนแรกอาการจะค่อยๆ ดีขึ้น ต้มดื่มต่ออีก 3 เดือน รวมเป็น 6 เดือน อาการจะสู่ปกติ สามารถหยุดกินได้ มีอาการอีกเมื่อไหร่จึงต้มดื่มใหม่ ปัจจุบัน "หญ้าไผ่น้ำ" มีขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอก ไม้ประดับ สวนจตุจักรทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 21 แผง "คุณพร้อมพันธุ์" ราคาสอบถามกันเอง มีคนซื้อไปต้มดื่มแล้วได้ผลดีระดับหนึ่ง จึงถือโอกาสแนะนำอีกครั้งเพื่อเป็นทางเลือก หากใช้แล้วไม่ได้ผลสามารถหยุดได้ทันทีไม่มี อันตรายอะไร (หมายเหตุ รูปถั่วลิสงกับ "เล้ง" ไม่ได้ถ่ายภาพไว้ จึงเอาภาพ "หญ้าไผ่น้ำ" เสนอประกอบคอลัมน์แทน)
ส่วนใคร ที่เป็นโรคไตแล้ว ให้เอา "หญ้าไผ่น้ำ" แบบสด เคยแนะนำในคอลัมน์ไป ในฉบับวันที่ 27 ต.ค. 51 จำนวน 250 กรัม ต้มกับน้ำเยอะๆ เคี่ยวนานๆ แล้วเทดื่มขณะอุ่นวันละแก้วก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ เวลาไหนก็ได้ ต้มดื่มต่อเนื่อง 3 เดือนแรกอาการจะค่อยๆ ดีขึ้น ต้มดื่มต่ออีก 3 เดือน รวมเป็น 6 เดือน อาการจะสู่ปกติ สามารถหยุดกินได้ มีอาการอีกเมื่อไหร่จึงต้มดื่มใหม่ ปัจจุบัน "หญ้าไผ่น้ำ" มีขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอก ไม้ประดับ สวนจตุจักรทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 21 แผง "คุณพร้อมพันธุ์" ราคาสอบถามกันเอง มีคนซื้อไปต้มดื่มแล้วได้ผลดีระดับหนึ่ง จึงถือโอกาสแนะนำอีกครั้งเพื่อเป็นทางเลือก หากใช้แล้วไม่ได้ผลสามารถหยุดได้ทันทีไม่มี อันตรายอะไร (หมายเหตุ รูปถั่วลิสงกับ "เล้ง" ไม่ได้ถ่ายภาพไว้ จึงเอาภาพ "หญ้าไผ่น้ำ" เสนอประกอบคอลัมน์แทน)
ถั่วพูดอกขาวใบเรียว
ปลูก 2 เดือนติดผล
ปกติแล้ว
ถั่วพูที่นิยมปลูกเพื่อเก็บผลหรือฝักกินในครัวเรือน
หรือเก็บผลหรือฝักขายเป็นรายได้มาช้านาน จะเป็นถั่วพูสายพันธุ์ที่มีดอกเป็นสีม่วง
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า PSOPHOCARPUS
TETRAGONOLOBUS DC. อยู่ในวงศ์ PAPILIONACEAE เป็นไม้เถาเลื้อย
ต้นหรือเถาสามารถเลื้อยได้ไกลกว่า 5-7 เมตร ราก เป็นปมอยู่ใต้ดิน
มีการแตกปมได้ แต่ละปมจะมีขนาดใหญ่และแตกปมได้ทุกสภาพ แตกกิ่งก้านสาขาเยอะ
ใบของถั่วพูชนิดดอกสีม่วงนี้จะเป็นใบย่อยหรือใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ลักษณะใบจะเป็นรูปรีกว้าง คล้ายกับใบมันเทศ ปลายใบแหลม โคนมน สีเขียวสด
ติดใบดกมาก
ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยหลายดอก ลักษณะดอกเป็นรูปดอกถั่ว เป็นสีม่วง ตามที่กล่าวข้างต้น "ผล" เป็นฝักสี่เหลี่ยม มีปีกออก 4 ปีก ผลหรือฝักยาวประมาณ 3-4 นิ้วฟุต มีเมล็ดเยอะ ติดผลตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ซึ่งถั่วพู ชนิดดอกเป็นสีม่วงนี้ มีระยะเวลาปลูกแล้วติดผลหรือฝักประมาณ 4-5 เดือน สมัยก่อนนิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะตามหัวไร่ปลายนา
ประโยชน์ ทั่วไปของถั่วพู ผลหรือฝักสดที่ยังอ่อนไม่แก่จิ้มน้ำพริกกรอบอร่อยมาก หรือลวกจิ้มน้ำพริกอร่อยเช่นกัน นอกจากนั้น ผลหรือฝักสดอ่อนๆยังใช้ยำถั่วพู แกงส้ม แกงเผ็ด หั่นเป็นฝอยๆชิ้นเล็กๆ ใส่ ทอดมันอร่อยไม่แพ้ใส่ถั่วฝักยาว สรรพคุณทางยา ราก หรือ เหง้า ที่เป็นปมหั่นนำไป ตากแห้ง แล้วนำไปคั่วไฟให้เหลือง ชงน้ำร้อนดื่มเป็นยาชูกำลัง และ แก้อาการอ่อนเพลียได้ดีมาก
ส่วน "ถั่วพูดอกขาวใบเรียว" เป็นอีกสายพันธุ์หนึ่งที่เพิ่งจะพบมีต้นวางขาย มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับถั่วพูชนิดดอกเป็นสีม่วงเกือบทุกอย่าง คือ เป็นไม้เถาเลื้อย แตก กิ่งก้านสาขาแบบเดียวกัน จะมีข้อแตกต่างกัน คือ ชนิดหลังนี้จะมีดอกเป็นสีขาว และ ใบเป็นใบเดี่ยว ออก ตรงกันข้าม ไม่ใช่เป็นใบประกอบ รูปทรงของใบต่างกันชัดเจน คือ ชนิดดอกเป็นสีขาว ใบจะเป็นรูปรี เรียว และแหลมยาว ก้านใบสั้น สีเขียวสด ใบไม่ดกเหมือนกับใบของถั่วพูที่มีดอกเป็นสีม่วง ส่วนผลหรือฝัก รูปทรงเหมือนกัน รับประทานอร่อยไม่แพ้กัน ที่สำคัญ "ถั่วพูดอกขาวใบเรียว" ใช้เวลาปลูกสั้นกว่า เพียง 2 เดือน สามารถติดผลได้ มีต้นขายที่ ตลาด นัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 22 แผง "คุณแอน" ราคาสอบถามกันเองครับ.
ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยหลายดอก ลักษณะดอกเป็นรูปดอกถั่ว เป็นสีม่วง ตามที่กล่าวข้างต้น "ผล" เป็นฝักสี่เหลี่ยม มีปีกออก 4 ปีก ผลหรือฝักยาวประมาณ 3-4 นิ้วฟุต มีเมล็ดเยอะ ติดผลตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ซึ่งถั่วพู ชนิดดอกเป็นสีม่วงนี้ มีระยะเวลาปลูกแล้วติดผลหรือฝักประมาณ 4-5 เดือน สมัยก่อนนิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะตามหัวไร่ปลายนา
ประโยชน์ ทั่วไปของถั่วพู ผลหรือฝักสดที่ยังอ่อนไม่แก่จิ้มน้ำพริกกรอบอร่อยมาก หรือลวกจิ้มน้ำพริกอร่อยเช่นกัน นอกจากนั้น ผลหรือฝักสดอ่อนๆยังใช้ยำถั่วพู แกงส้ม แกงเผ็ด หั่นเป็นฝอยๆชิ้นเล็กๆ ใส่ ทอดมันอร่อยไม่แพ้ใส่ถั่วฝักยาว สรรพคุณทางยา ราก หรือ เหง้า ที่เป็นปมหั่นนำไป ตากแห้ง แล้วนำไปคั่วไฟให้เหลือง ชงน้ำร้อนดื่มเป็นยาชูกำลัง และ แก้อาการอ่อนเพลียได้ดีมาก
ส่วน "ถั่วพูดอกขาวใบเรียว" เป็นอีกสายพันธุ์หนึ่งที่เพิ่งจะพบมีต้นวางขาย มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับถั่วพูชนิดดอกเป็นสีม่วงเกือบทุกอย่าง คือ เป็นไม้เถาเลื้อย แตก กิ่งก้านสาขาแบบเดียวกัน จะมีข้อแตกต่างกัน คือ ชนิดหลังนี้จะมีดอกเป็นสีขาว และ ใบเป็นใบเดี่ยว ออก ตรงกันข้าม ไม่ใช่เป็นใบประกอบ รูปทรงของใบต่างกันชัดเจน คือ ชนิดดอกเป็นสีขาว ใบจะเป็นรูปรี เรียว และแหลมยาว ก้านใบสั้น สีเขียวสด ใบไม่ดกเหมือนกับใบของถั่วพูที่มีดอกเป็นสีม่วง ส่วนผลหรือฝัก รูปทรงเหมือนกัน รับประทานอร่อยไม่แพ้กัน ที่สำคัญ "ถั่วพูดอกขาวใบเรียว" ใช้เวลาปลูกสั้นกว่า เพียง 2 เดือน สามารถติดผลได้ มีต้นขายที่ ตลาด นัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 22 แผง "คุณแอน" ราคาสอบถามกันเองครับ.
ทับทิม กับสูตรหน้าตึงใส
เช่น
เปลือก เอาไปสกัดเป็นสารธรรมชาติผลิตเป็นสบู่เหลว ไม่มีสารเคมีต้องห้ามเจือปน
ใช้ล้างหน้าช่วยเปิดรูขุมขน ชำระล้างไขมันและสิ่งตกค้างที่อุดตันให้สะอาด
ลดความมันบนใบหน้า? ป้องกันการเกิดสิวได้
แต่การทำสบู่เหลวด้วยตัวเองยุ่งยาก เพราะมีขั้นตอนเยอะ
ต้องมีเครื่องมือด้วยผู้อ่านไปทำเองไม่ได้แน่นอน
ส่วนสูตร "ทับทิม" ทำให้หน้าตึงใส รับรองว่าผู้อ่านสามารถนำสูตรไปทำใช้เองได้สบายมาก โดยให้เอาเมล็ด "ทับทิม" สุกและแก่จัด มีเนื้อหุ้มเมล็ดจำนวนพอเหมาะ ตำแล้วใส่ผ้าขาวบางห่อบีบเอาเฉพาะน้ำ ทาทั่วใบหน้าวันละ 2 ครั้ง เช้าประมาณ 10-15 นาทีล้างออก ก่อนนอนทาแล้วทิ้งไว้ทั้งคืนได้ ทำเป็นประจำ จะช่วยให้ใบหน้าตึงกระชับและสดใสขึ้น แต่ไม่ใช่ ทำให้หน้าขาว
ทับทิม หรือ GRANATE? PUNICA? GRANATUM LINN. อยู่ในวงศ์ PUNICACEAE มีต้นขายให้ซื้อไปปลูกที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ส่วน "ผล" มีขายตามตลาดผลไม้ ทั่วไป ใครที่ต้องการให้หน้าตึงใสโดยวิธีธรรมชาติ ซื้อไปทำใช้เองได้สบายตามขั้นตอนที่บอกไปข้างต้น
ส่วนสูตร "ทับทิม" ทำให้หน้าตึงใส รับรองว่าผู้อ่านสามารถนำสูตรไปทำใช้เองได้สบายมาก โดยให้เอาเมล็ด "ทับทิม" สุกและแก่จัด มีเนื้อหุ้มเมล็ดจำนวนพอเหมาะ ตำแล้วใส่ผ้าขาวบางห่อบีบเอาเฉพาะน้ำ ทาทั่วใบหน้าวันละ 2 ครั้ง เช้าประมาณ 10-15 นาทีล้างออก ก่อนนอนทาแล้วทิ้งไว้ทั้งคืนได้ ทำเป็นประจำ จะช่วยให้ใบหน้าตึงกระชับและสดใสขึ้น แต่ไม่ใช่ ทำให้หน้าขาว
ทับทิม หรือ GRANATE? PUNICA? GRANATUM LINN. อยู่ในวงศ์ PUNICACEAE มีต้นขายให้ซื้อไปปลูกที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ส่วน "ผล" มีขายตามตลาดผลไม้ ทั่วไป ใครที่ต้องการให้หน้าตึงใสโดยวิธีธรรมชาติ ซื้อไปทำใช้เองได้สบายตามขั้นตอนที่บอกไปข้างต้น
เทียนกิ่ง ใบหมักผม
ไม้ชนิดนี้
มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาและประเทศในแถบเอเชียใต้ มี 2 ชนิด คือ ชนิดดอกสีแดงและสีขาวนวล
ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน มีสรรพคุณทางสมุนไพรเหมือนกัน โดย
เอาใบสดจำนวนตามต้องการตำละเอียดผสมน้ำเล็กน้อยใช้หมักผม 1 ชั่วโมง
จะให้สีน้ำตาลเกือบดำ แต่ถ้าต้องการให้เป็นสีดำต้องใส่ ใบกะเม็ง ผงกาแฟที่ชงดื่ม
และดอกอัญชันลงไปด้วย เมื่อหมักแล้วจะให้สีดำสนิท
สูตรนี้ใช้กันมาจนกระทั่งปัจจุบัน
เทียนกิ่ง หรือ LAWSONIA INERMIS LINN. ชื่อสามัญ HENNA, MIGNONETTE TREE อยู่ในวงศ์ LYTHRACEAE เป็นไม้พุ่ม สูง 3-5 เมตร ต้นแก่มีหนาม ใบรูปไข่ ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง มีกลีบดอก 4 กลีบ ร่วงง่าย เวลามีดอกสวยงามมาก "ผล" ทรงกลม มีเมล็ดจำนวนมาก ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ชาวจีนเรียกว่า ฮวงกุย, โจวกะฮวยเฮี้ยะ มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 21 แผง "คุณพร้อมพันธุ์" ราคาสอบถามกันเอง ประโยชน์เฉพาะ ใบสดตำรวมกับเหง้าขมิ้นชันสดเติมเกลือเล็กน้อยพอกรักษาเล็บอักเสบ เล็บขบ จมูกเล็บเป็นหนอง ใบสามารถฆ่าเชื้อหนองและเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคกลากด้วย ใบแห้งใช้ย้อมผมให้สีแดงส้ม สารสำคัญที่พบในใบเป็นเกล็ดสีส้ม ชื่อ LAWSONE
เทียนกิ่ง หรือ LAWSONIA INERMIS LINN. ชื่อสามัญ HENNA, MIGNONETTE TREE อยู่ในวงศ์ LYTHRACEAE เป็นไม้พุ่ม สูง 3-5 เมตร ต้นแก่มีหนาม ใบรูปไข่ ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง มีกลีบดอก 4 กลีบ ร่วงง่าย เวลามีดอกสวยงามมาก "ผล" ทรงกลม มีเมล็ดจำนวนมาก ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ชาวจีนเรียกว่า ฮวงกุย, โจวกะฮวยเฮี้ยะ มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 21 แผง "คุณพร้อมพันธุ์" ราคาสอบถามกันเอง ประโยชน์เฉพาะ ใบสดตำรวมกับเหง้าขมิ้นชันสดเติมเกลือเล็กน้อยพอกรักษาเล็บอักเสบ เล็บขบ จมูกเล็บเป็นหนอง ใบสามารถฆ่าเชื้อหนองและเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคกลากด้วย ใบแห้งใช้ย้อมผมให้สีแดงส้ม สารสำคัญที่พบในใบเป็นเกล็ดสีส้ม ชื่อ LAWSONE
เทียนแดง ผู้ขายเรียก
เปลวสุริยา
หลายคน
ที่ชื่นชอบปลูกไม้ประดับประเภทที่มีดอกสวยงาม สงสัยว่า ต้น เปลวสุริยา
ที่ผู้ขายเอามาวางขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ
มีดอกสีสันเข้มข้นน่าชมมากมีที่มาอย่างไร เพราะสอบถามผู้ขายบอกได้เพียงชื่อว่า
เปลว สุริยา อย่างอื่นไม่รู้ ซึ่งความจริงแล้วต้นเปลวสุริยา
ที่ผู้ขายบอกนั้นก็คือ ต้น "เทียนแดง" นั่นเอง เป็นไม้ ที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศในแถบอเมริกาใต้ ถูกนำเข้ามาปลูก และขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานแล้ว จนกลายเป็นไม้ไทยไปโดยปริยาย ส่วนชื่อที่ผู้ขายเรียกว่าเปลว สุริยานั้น น่าจะมาจากสีสันของดอก และ นอกจากต้น "เทียนแดง" จะมีความสวยงาม เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวแล้ว ทั้งต้นยังมีสรรพคุณเป็นสมุนไพรอีกด้วย
โดย ราก ทำให้อาเจียน ใช้เป็นยาถ่าย ทั้งต้น ทำให้อาเจียน รักษาบิด ใบตำ ละเอียดคั้นเอาน้ำดื่มเป็นยาขับพยาธิ พอกห้ามเลือดจากแผลสด ซึ่งรากของ "เทียนแดง" พบว่ามีสาร CURASSAVINE
เทียนแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า ASCLEPIAS CURASSAVICA LINN. อยู่ในวงศ์ ASCLEPIADACEAE มีชื่อสามัญคือ BASTARD LPECACUANHA, BLOOD FLOWER, RED HEAD COTTON ลักษณะเป็นไม้พุ่ม สูง 1-1.5 เมตร แตกกิ่งตรงปลายยอดเล็กน้อย ทุกส่วนมียางสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปใบหอกแคบ ปลายและโคนใบแหลม สีเขียวสด
ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยไม่น้อยกว่า 10 ดอก กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอดเช่นกัน ปลายแยกเป็นกลีบดอก 5 กลีบ กลีบดอกมักโค้งงอ มีรยางค์ 5 อัน กลีบดอกเป็นสีแดงเข้ม หรือ สีแดงอมส้ม เกสรตัวผู้เป็นสีเหลืองสด หรือ สีเหลืองอมส้ม มี 5 อัน เวลามีดอกดกหลายๆช่อ และช่อดอกตั้งขึ้น จะดูสวยงามเจิดจ้ามาก "ผล" เป็นฝักรูปขอบขนานแกมรูปไข่ เมื่อฝักแก่แตกได้ เมล็ดมีขนสีขาวเป็นกระจุก ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
มีชื่อ เรียกในประเทศไทยอีกเยอะ เช่น ค่าน้ำ, เด็งจ้อน (ลำปาง) ดอกไม้จีน, ไม้เมืองจีน (สุราษฎร์ธานี) เทียนใต้, ไฟเดือนห้า (ภาคเหนือ) บัวลาแดง (เชียงใหม่) ไม้จีน (ประจวบคีรีขันธ์) มีต้นขายทั่วไป เหมาะจะปลูกประดับเป็นกลุ่มหลายๆต้น เวลามีดอกจะสร้างสีสันสวยงามเจิดจ้ามากครับ.
ที่ผู้ขายบอกนั้นก็คือ ต้น "เทียนแดง" นั่นเอง เป็นไม้ ที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศในแถบอเมริกาใต้ ถูกนำเข้ามาปลูก และขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานแล้ว จนกลายเป็นไม้ไทยไปโดยปริยาย ส่วนชื่อที่ผู้ขายเรียกว่าเปลว สุริยานั้น น่าจะมาจากสีสันของดอก และ นอกจากต้น "เทียนแดง" จะมีความสวยงาม เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวแล้ว ทั้งต้นยังมีสรรพคุณเป็นสมุนไพรอีกด้วย
โดย ราก ทำให้อาเจียน ใช้เป็นยาถ่าย ทั้งต้น ทำให้อาเจียน รักษาบิด ใบตำ ละเอียดคั้นเอาน้ำดื่มเป็นยาขับพยาธิ พอกห้ามเลือดจากแผลสด ซึ่งรากของ "เทียนแดง" พบว่ามีสาร CURASSAVINE
เทียนแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า ASCLEPIAS CURASSAVICA LINN. อยู่ในวงศ์ ASCLEPIADACEAE มีชื่อสามัญคือ BASTARD LPECACUANHA, BLOOD FLOWER, RED HEAD COTTON ลักษณะเป็นไม้พุ่ม สูง 1-1.5 เมตร แตกกิ่งตรงปลายยอดเล็กน้อย ทุกส่วนมียางสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปใบหอกแคบ ปลายและโคนใบแหลม สีเขียวสด
ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยไม่น้อยกว่า 10 ดอก กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอดเช่นกัน ปลายแยกเป็นกลีบดอก 5 กลีบ กลีบดอกมักโค้งงอ มีรยางค์ 5 อัน กลีบดอกเป็นสีแดงเข้ม หรือ สีแดงอมส้ม เกสรตัวผู้เป็นสีเหลืองสด หรือ สีเหลืองอมส้ม มี 5 อัน เวลามีดอกดกหลายๆช่อ และช่อดอกตั้งขึ้น จะดูสวยงามเจิดจ้ามาก "ผล" เป็นฝักรูปขอบขนานแกมรูปไข่ เมื่อฝักแก่แตกได้ เมล็ดมีขนสีขาวเป็นกระจุก ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
มีชื่อ เรียกในประเทศไทยอีกเยอะ เช่น ค่าน้ำ, เด็งจ้อน (ลำปาง) ดอกไม้จีน, ไม้เมืองจีน (สุราษฎร์ธานี) เทียนใต้, ไฟเดือนห้า (ภาคเหนือ) บัวลาแดง (เชียงใหม่) ไม้จีน (ประจวบคีรีขันธ์) มีต้นขายทั่วไป เหมาะจะปลูกประดับเป็นกลุ่มหลายๆต้น เวลามีดอกจะสร้างสีสันสวยงามเจิดจ้ามากครับ.
เทียนบ้าน
แก้ปวดข้อนิ้วมือเท้า
เทียนบ้าน
เป็นไม้ดอกสวยงามที่ได้รับความนิยมปลูกประดับอย่างกว้างขวางมาช้านานเนื่องจากดอกมีหลายสีและสวยงามมาก
ซึ่ง “เทียนบ้าน”
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า IMPATIENS BALSAMINA LINN. ชื่อสามัญคือ GARDEN BALSAM อยู่ในวงศ์ BALSAMINACEAE
มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ล้มลุก สูง 20-60 ซม. ใบเป็นใบเดี่ยว ใบบนออกเรียงสลับ ใบล่าง ออกตรงกันข้าม รูปรี
ปลายและโคนใบแหลม ขอบใบจัก เนื้อใบค่อนข้างบาง
ดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบ มีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ กลีบล่างงอเป็นกระเปาะ มีจะงอยยื่นออกมาเป็นหลอดเล็กยาว ปลายโค้งขึ้น ดอกมีด้วยกันหลายสีคือ สีขาว ชมพู แดง ม่วง หรือ หลายสีผสมกันในดอกเดียว ดอกเมื่อบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-4 ซม. มีเกสรตัวผู้ 5 อัน เวลามี
ดอกดกทั้งต้นจะดูงดงามมาก “ผล” เป็นรูปไข่ หรือรี ภายในมีเมล็ดเยอะ ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและปักชำกิ่ง ถิ่นกำเนิดจากอินเดีย และ จีน ในประเทศไทยถูกนำเข้า มาปลูกนานมากจนกลายเป็นไม้ไทยไปโดยปริยาย มีชื่อเรียกอีกคือ เทียนดอก เทียนไทย เทียนสวย จีน เรียกว่า จึงกะฮวย และ ไจกะฮวย
ประโยชน์ทางยา ชาวจีน ใช้ใบตำ พอกแก้ปวดตามข้อนิ้วมือนิ้วเท้า และพอกข้อเท้าแก้เกาต์ เล็บขบ ช่วยถอนพิษปวด แสบปวดร้อน ส่วนใหญ่นิยมชนิดดอกสีขาว ทั้งต้นแก้ปวดข้อ ขับลม ฟอกเลือด แก้บวม ล้างแผลติดเชื้อ แผลไฟไหม้ น้ำร้อน ลวก ทั้งต้นโดยเฉพาะใบมีสารจำพวก “แนพโทควิโนน” NAPHTHOQUINONE ชื่อ METHYLLAW.SONE ใช้แก้กลากเกลื้อนได้ดีอีกด้วย
ปัจจุบัน “เทียนบ้าน” มีต้น ขายทั่วไปที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวน จตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ราคาแต่ละแผง ไม่เท่ากัน ต้องเดินสอบถามก่อนตัดสินใจซื้อครับ.
ดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบ มีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ กลีบล่างงอเป็นกระเปาะ มีจะงอยยื่นออกมาเป็นหลอดเล็กยาว ปลายโค้งขึ้น ดอกมีด้วยกันหลายสีคือ สีขาว ชมพู แดง ม่วง หรือ หลายสีผสมกันในดอกเดียว ดอกเมื่อบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-4 ซม. มีเกสรตัวผู้ 5 อัน เวลามี
ดอกดกทั้งต้นจะดูงดงามมาก “ผล” เป็นรูปไข่ หรือรี ภายในมีเมล็ดเยอะ ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและปักชำกิ่ง ถิ่นกำเนิดจากอินเดีย และ จีน ในประเทศไทยถูกนำเข้า มาปลูกนานมากจนกลายเป็นไม้ไทยไปโดยปริยาย มีชื่อเรียกอีกคือ เทียนดอก เทียนไทย เทียนสวย จีน เรียกว่า จึงกะฮวย และ ไจกะฮวย
ประโยชน์ทางยา ชาวจีน ใช้ใบตำ พอกแก้ปวดตามข้อนิ้วมือนิ้วเท้า และพอกข้อเท้าแก้เกาต์ เล็บขบ ช่วยถอนพิษปวด แสบปวดร้อน ส่วนใหญ่นิยมชนิดดอกสีขาว ทั้งต้นแก้ปวดข้อ ขับลม ฟอกเลือด แก้บวม ล้างแผลติดเชื้อ แผลไฟไหม้ น้ำร้อน ลวก ทั้งต้นโดยเฉพาะใบมีสารจำพวก “แนพโทควิโนน” NAPHTHOQUINONE ชื่อ METHYLLAW.SONE ใช้แก้กลากเกลื้อนได้ดีอีกด้วย
ปัจจุบัน “เทียนบ้าน” มีต้น ขายทั่วไปที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวน จตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ราคาแต่ละแผง ไม่เท่ากัน ต้องเดินสอบถามก่อนตัดสินใจซื้อครับ.
เท้ายายม่อมหัว แก้เบื่ออาหารอ่อนเพลีย
คนพื้นบ้าน ตามชนบทจะรู้จักและคุ้นเคยกับ “เท้ายายม่อมหัว” เป็นอย่างดี เนื่องจากมีขึ้นทั่วไปตามป่าดิบชื้นทุกภาคของประเทศไทย และมักจะขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่ๆ หรือขึ้นเป็นดงจำนวนมาก ชาวบ้านในยุคสมัยก่อนนิยมขุดเอาหัวไปทำเป็นแป้งเรียกว่า WILLIAM’S ARROW ROOT เพื่อใช้ปรุงเป็นอาหาร หรือแปรรูปทำเป็นขนมหลายอย่างรับประทานอร่อยมาก ซึ่งในยุคโบราณนิยมกันอย่างแพร่หลาย ปัจจุบันบางพื้นที่ยังนิยมกันอยู่ แต่ก็เหลือน้อยมาก เนื่องจาก “เท้ายายม่อมหัว” หายากนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม “เท้ายายม่อมหัว” นอกจากจะใช้หัวทำแป้งปรุงอาหารได้ตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว ในทางสมุนไพรยังมีสรรพคุณดีอีกด้วย โดยในตำรายาแผนไทยระบุว่า แป้งที่ทำขึ้นจากหัวของ “เท้ายายม่อมหัว” สามารถเอาไปละลายกับน้ำแล้วใส่น้ำตาลกรวดพอประมาณตั้งไฟอ่อนๆ กวนจนแป้งสุกให้คนไข้ที่เกิดอาการเบื่ออาหารทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรงกิน จะช่วยให้มีอาการดีขึ้น และ รู้สึกกระชุ่มกระชวยกินข้าวได้และหายอ่อนเพลียอย่างเหลือเชื่อ
เท้ายายม่อมหัว หรือ TACCA LEON-TOPETALOIDES (L.) KUNTZE อยู่ในวงศ์ TACCACEAE เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีหัวรูปทรงกลม หรือรูปกลมรีใต้ดิน ต้นและใบแทงขึ้นจากหัวใต้ดิน ใบเป็นรูปรี ขอบใบเป็นแฉก ก้านใบยาว ใบเป็นสีเขียวสด
ดอก ออกเป็นช่อแทงขึ้นจากซอกใบ 1-2 ช่อ ช่อยาวประมาณ 170 ซม. แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย 20-40 ดอก ดอกเป็นสีเขียวอมเหลือง มีกลีบดอก 6 กลีบ เรียงซ้อนกันเป็น 2 ชั้น มีเกสรตัวผู้ 6 อัน ปลายแผ่เป็นแผ่น ก้านเกสรตัวเมียสั้น ปลายแยกเป็น 3 แฉก
ผล มีเนื้อหุ้มใน 1 ผล จะมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดเป็นรูปเกือบกลม หรือรีห้อยลง เป็นไม้เจริญงอกงามในช่วงฤดูฝน ทรุดโทรมหรือตายในช่วงฤดูแล้ง แต่จะฝังหัวไว้ใต้ดินเมื่อเข้าสู่ฤดูฝนมีเม็ดฝนโปรยปรายลงมา “เท้ายายม่อมหัว” จะแทงต้นและใบขึ้นมาอีกครั้งเป็นวัฏจักรทุกๆปี ขยายพันธุ์ด้วยหัว และ หัว จะประกอบด้วยแป้งจำนวนมาก นอกจากชื่อ “เท้ายายม่อมหัว” แล้ว ยังมีชื่ออื่นเรียกอีกคือ ไม้เท้าฤาษี (ภาคกลาง) สิงโตดำ (กรุงเทพฯ) และ บุกรอ (ตราด) มีหัวขาย ที่ ตลาดนัดไม้ ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 3 แผง “เจ๊ติ๋ม” ราคาสอบถามกันเองครับ.
อย่างไรก็ตาม “เท้ายายม่อมหัว” นอกจากจะใช้หัวทำแป้งปรุงอาหารได้ตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว ในทางสมุนไพรยังมีสรรพคุณดีอีกด้วย โดยในตำรายาแผนไทยระบุว่า แป้งที่ทำขึ้นจากหัวของ “เท้ายายม่อมหัว” สามารถเอาไปละลายกับน้ำแล้วใส่น้ำตาลกรวดพอประมาณตั้งไฟอ่อนๆ กวนจนแป้งสุกให้คนไข้ที่เกิดอาการเบื่ออาหารทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรงกิน จะช่วยให้มีอาการดีขึ้น และ รู้สึกกระชุ่มกระชวยกินข้าวได้และหายอ่อนเพลียอย่างเหลือเชื่อ
เท้ายายม่อมหัว หรือ TACCA LEON-TOPETALOIDES (L.) KUNTZE อยู่ในวงศ์ TACCACEAE เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีหัวรูปทรงกลม หรือรูปกลมรีใต้ดิน ต้นและใบแทงขึ้นจากหัวใต้ดิน ใบเป็นรูปรี ขอบใบเป็นแฉก ก้านใบยาว ใบเป็นสีเขียวสด
ดอก ออกเป็นช่อแทงขึ้นจากซอกใบ 1-2 ช่อ ช่อยาวประมาณ 170 ซม. แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย 20-40 ดอก ดอกเป็นสีเขียวอมเหลือง มีกลีบดอก 6 กลีบ เรียงซ้อนกันเป็น 2 ชั้น มีเกสรตัวผู้ 6 อัน ปลายแผ่เป็นแผ่น ก้านเกสรตัวเมียสั้น ปลายแยกเป็น 3 แฉก
ผล มีเนื้อหุ้มใน 1 ผล จะมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดเป็นรูปเกือบกลม หรือรีห้อยลง เป็นไม้เจริญงอกงามในช่วงฤดูฝน ทรุดโทรมหรือตายในช่วงฤดูแล้ง แต่จะฝังหัวไว้ใต้ดินเมื่อเข้าสู่ฤดูฝนมีเม็ดฝนโปรยปรายลงมา “เท้ายายม่อมหัว” จะแทงต้นและใบขึ้นมาอีกครั้งเป็นวัฏจักรทุกๆปี ขยายพันธุ์ด้วยหัว และ หัว จะประกอบด้วยแป้งจำนวนมาก นอกจากชื่อ “เท้ายายม่อมหัว” แล้ว ยังมีชื่ออื่นเรียกอีกคือ ไม้เท้าฤาษี (ภาคกลาง) สิงโตดำ (กรุงเทพฯ) และ บุกรอ (ตราด) มีหัวขาย ที่ ตลาดนัดไม้ ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 3 แผง “เจ๊ติ๋ม” ราคาสอบถามกันเองครับ.
ทำมัง มีกิ่งพันธุ์ขาย
ไม้ชนิดนี้
มีขึ้นตามธรรมชาติในป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณเฉพาะถิ่นทางภาคใต้
คนในพื้นที่จะรู้จักต้น “ทำมัง”
เป็นอย่างดี
เนื่องจากเปลือกต้นจะมีกลิ่นหอมแรงคล้ายกลิ่นแมงดามากจึงนิยมเอาเปลือกต้นไปปรุงผสมกับน้ำพริกเพิ่มกลิ่นหอมแทนการใช้แมงดาจริงๆรับประทานอร่อยยิ่งนัก
นอกจากนั้น ชาวบ้านยังมีเรื่องเล่าเป็นตำนานเกี่ยวกับต้น “ทำมัง” มาแต่โบราณด้วยว่า ตัวแมงดาจริงๆชอบบินไปวางไข่ไว้บนต้น “ทำมัง” เป็นประจำเมื่อถึงฤดูวางไข่ และรอจนกระทั่งมีลมพายุพัดมาตามธรรมชาติจะพัดเอาแมงดาเหล่านั้นกระจายไปตามที่ต่างๆ จึงเรียกต้นไม้นี้อีกชื่อว่า “ไม้แมงดา”
ทำมัง หรือ LITSEA PETIOLATA HOOK.F. อยู่ในวงศ์ LAURACEAE เป็นไม้ยืนต้นสูง 10-15 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ รูปไข่กว้าง ปลายและโคนมน ขอบใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างหนา สีเขียวสดเป็นมัน ใบดกและหนาแน่นมาก ดอก ออกตามกิ่งก้าน เป็นสีขาว และ เป็นปุย “ผล” รูปทรงกลม เมื่อผลสุกเป็นสีดำ มีเมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และตอนกิ่ง มีชื่อเรียกอีกคือ แมงดาต้น ชะมัง และ กาดสลอง
ทางอาหาร ใบใส่แกงเผ็ด ใบ เปลือกต้น และผลแก่ใช้ตำน้ำพริก ใบอ่อน ดอกอ่อน กินเป็นผักเหนาะ ผลอ่อนลวกจิ้มน้ำพริก ทางยา เปลือกต้นปรุงเป็นยาขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืด ขึ้นเฟ้อ และแก้จุกเสียด
ปัจจุบันมีกิ่งพันธุ์ขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณ แผง “คุณภิญโญ” ตรงกันข้ามโครงการ 13 ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ ในดินทั่วไป ส่วนใหญ่นิยมปลูกทางภาคใต้ ภาคอื่นต้องทดลองปลูกดูอาจเติบโตได้ดีครับ.
นอกจากนั้น ชาวบ้านยังมีเรื่องเล่าเป็นตำนานเกี่ยวกับต้น “ทำมัง” มาแต่โบราณด้วยว่า ตัวแมงดาจริงๆชอบบินไปวางไข่ไว้บนต้น “ทำมัง” เป็นประจำเมื่อถึงฤดูวางไข่ และรอจนกระทั่งมีลมพายุพัดมาตามธรรมชาติจะพัดเอาแมงดาเหล่านั้นกระจายไปตามที่ต่างๆ จึงเรียกต้นไม้นี้อีกชื่อว่า “ไม้แมงดา”
ทำมัง หรือ LITSEA PETIOLATA HOOK.F. อยู่ในวงศ์ LAURACEAE เป็นไม้ยืนต้นสูง 10-15 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ รูปไข่กว้าง ปลายและโคนมน ขอบใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างหนา สีเขียวสดเป็นมัน ใบดกและหนาแน่นมาก ดอก ออกตามกิ่งก้าน เป็นสีขาว และ เป็นปุย “ผล” รูปทรงกลม เมื่อผลสุกเป็นสีดำ มีเมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และตอนกิ่ง มีชื่อเรียกอีกคือ แมงดาต้น ชะมัง และ กาดสลอง
ทางอาหาร ใบใส่แกงเผ็ด ใบ เปลือกต้น และผลแก่ใช้ตำน้ำพริก ใบอ่อน ดอกอ่อน กินเป็นผักเหนาะ ผลอ่อนลวกจิ้มน้ำพริก ทางยา เปลือกต้นปรุงเป็นยาขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืด ขึ้นเฟ้อ และแก้จุกเสียด
ปัจจุบันมีกิ่งพันธุ์ขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณ แผง “คุณภิญโญ” ตรงกันข้ามโครงการ 13 ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ ในดินทั่วไป ส่วนใหญ่นิยมปลูกทางภาคใต้ ภาคอื่นต้องทดลองปลูกดูอาจเติบโตได้ดีครับ.
ทาร์รากอน
ยอดเครื่องเทศฝรั่งเศส
ไม้ต้นนี้ เพิ่งพบมีต้นขาย มีป้ายชื่อเขียนติดไว้ว่า “ทาร์รากอน” ซึ่งพืชชนิดนี้มีบทบาทมากในประเทศฝรั่งเศส
จัดอยู่ในเครื่องเทศอย่างหนึ่งที่ใช้ปรุงอาหารได้หลายอย่าง
โดยก้านและใบสดจะมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวและมีรสเผ็ดร้อน นิยมนำไปคลุกปลา ไก่ เนื้อ
และอื่นๆ นึ่งเพิ่มกลิ่นหอมรับประทานอร่อยมาก หรือนำไปใช้ทำน้ำสลัด
ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง
ในประเทศฝรั่งเศส จะให้ความสำคัญกับ “ทาร์รากอน” อย่างมาก ขนาดจัดให้เป็น 1 ใน 4 ของสุดยอด สมุนไพรที่ให้คุณค่าทางอาหารต่อร่างกายสูง โดยยกย่อง “ทาร์รากอน” ว่าเป็น “ราชาแห่งสมุนไพร” ซึ่งเครื่อง เทศทั้ง 4 อย่างที่กล่าวถึงได้แก่ “ทาร์รากอน” เป็นอันดับแรก ต่อด้วย พาร์สลีย์ ไชฟว์ และ เชอร์วิล ทั้ง 4 ชนิด จะมีกลิ่นหอมและความเผ็ดร้อนเฉพาะตัวคล้ายๆกับ ผักชี และ ยี่หร่า ในบ้านเรา
การ ใช้ประโยชน์จาก “ทาร์รากอน” ส่วนใหญ่นิยมเอา ก้านและใบสด ไม่นิยมใช้ก้านและใบแห้ง ดังนั้น การที่จะทำให้ก้านและใบของ “ทาร์รากอน” คงสภาพความสด มีกลิ่นหอมและเผ็ดร้อนเหมือนเดิม แม้จะเก็บไว้นานๆ ได้ด้วยวิธีแปรรูปคือ เอาก้านและใบสดของ “ทาร์รา-กอน” ล้างน้ำให้สะอาด ผึ่งให้สะเด็ดน้ำ จากนั้นนำไปดองกับน้ำส้มสายชู ในภาชนะที่เตรียมไว้ ปิดฝาให้แน่น เก็บไว้ในครัว เวลาต้องการจะใช้ก็เปิดฝาเอาเฉพาะน้ำส้มสายชูที่ดองก้านและใบสดของ “ทาร์รากอน” ไปปรุงเป็นน้ำสลัด จะยังคงคุณภาพความหอมและเผ็ดร้อนเหมือนกับใช้ก้านและใบสด “ทาร์รากอน” ทุกอย่าง
ทาร์รากอน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า TAR-RAGON, ARTEMISIA DRACUNCULUS มีถิ่นกำเนิดขึ้นอยู่ตามป่าบนเขาทั่วไปของประเทศฝรั่งเศส มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กกึ่งล้มลุกคล้ายๆกับต้น “โกฐจุฬาลำพา” ทางภาค เหนือของไทย ต้นสูงเต็มที่ไม่เกิน 2-2.5 ฟุต แตกกิ่งก้านแบบโปร่งๆ ไม่หนาแน่นเหมือนกับ “โกฐ-จุฬาลำพา” ของไทย
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเป็นรูปแถบแคบ หรือรูปเรียว ปลายแหลม โคนใบติดกับกิ่งก้าน ผิวใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างหนา สีเขียวสด เวลาใบดกจะดูเป็นฝอยๆน่าชมยิ่ง ใบมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวและมีรสเผ็ดร้อนหรือรสขมเล็กน้อย ซึ่งนอกจากจะใช้ประโยชน์ได้ตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว ในประเทศฝรั่งเศสยังนิยมนำเอาก้านและใบ “ทาร์รากอน” หมักทำซอสอีกด้วย ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 2 แผง “ป้าแอ๊ด–คุณขวัญ” ราคาสอบถามกันเองครับ
ในประเทศฝรั่งเศส จะให้ความสำคัญกับ “ทาร์รากอน” อย่างมาก ขนาดจัดให้เป็น 1 ใน 4 ของสุดยอด สมุนไพรที่ให้คุณค่าทางอาหารต่อร่างกายสูง โดยยกย่อง “ทาร์รากอน” ว่าเป็น “ราชาแห่งสมุนไพร” ซึ่งเครื่อง เทศทั้ง 4 อย่างที่กล่าวถึงได้แก่ “ทาร์รากอน” เป็นอันดับแรก ต่อด้วย พาร์สลีย์ ไชฟว์ และ เชอร์วิล ทั้ง 4 ชนิด จะมีกลิ่นหอมและความเผ็ดร้อนเฉพาะตัวคล้ายๆกับ ผักชี และ ยี่หร่า ในบ้านเรา
การ ใช้ประโยชน์จาก “ทาร์รากอน” ส่วนใหญ่นิยมเอา ก้านและใบสด ไม่นิยมใช้ก้านและใบแห้ง ดังนั้น การที่จะทำให้ก้านและใบของ “ทาร์รากอน” คงสภาพความสด มีกลิ่นหอมและเผ็ดร้อนเหมือนเดิม แม้จะเก็บไว้นานๆ ได้ด้วยวิธีแปรรูปคือ เอาก้านและใบสดของ “ทาร์รา-กอน” ล้างน้ำให้สะอาด ผึ่งให้สะเด็ดน้ำ จากนั้นนำไปดองกับน้ำส้มสายชู ในภาชนะที่เตรียมไว้ ปิดฝาให้แน่น เก็บไว้ในครัว เวลาต้องการจะใช้ก็เปิดฝาเอาเฉพาะน้ำส้มสายชูที่ดองก้านและใบสดของ “ทาร์รากอน” ไปปรุงเป็นน้ำสลัด จะยังคงคุณภาพความหอมและเผ็ดร้อนเหมือนกับใช้ก้านและใบสด “ทาร์รากอน” ทุกอย่าง
ทาร์รากอน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า TAR-RAGON, ARTEMISIA DRACUNCULUS มีถิ่นกำเนิดขึ้นอยู่ตามป่าบนเขาทั่วไปของประเทศฝรั่งเศส มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กกึ่งล้มลุกคล้ายๆกับต้น “โกฐจุฬาลำพา” ทางภาค เหนือของไทย ต้นสูงเต็มที่ไม่เกิน 2-2.5 ฟุต แตกกิ่งก้านแบบโปร่งๆ ไม่หนาแน่นเหมือนกับ “โกฐ-จุฬาลำพา” ของไทย
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเป็นรูปแถบแคบ หรือรูปเรียว ปลายแหลม โคนใบติดกับกิ่งก้าน ผิวใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างหนา สีเขียวสด เวลาใบดกจะดูเป็นฝอยๆน่าชมยิ่ง ใบมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวและมีรสเผ็ดร้อนหรือรสขมเล็กน้อย ซึ่งนอกจากจะใช้ประโยชน์ได้ตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว ในประเทศฝรั่งเศสยังนิยมนำเอาก้านและใบ “ทาร์รากอน” หมักทำซอสอีกด้วย ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 2 แผง “ป้าแอ๊ด–คุณขวัญ” ราคาสอบถามกันเองครับ
ทองพันชั่ง
แก้กลากเกลื้อน
สมัยโบราณ คนหนุ่มสาว
ซึ่งปัจจุบันน่าจะมีอายุระหว่าง 60
ปีขึ้นไป
จะต้องรู้จักหรือเคยผ่านการเป็นกลากเกลื้อนกันอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 90% เนื่องจากในยุคสมัยนั้นการรับรู้เรื่องการสาธารณสุขมีน้อยมาก
โรคกลากเกลื้อนจึงเป็นกันอย่างแพร่หลาย บางคนเป็นแล้วลุกลามกลายเป็นหิดเป็นโลนก็มี
ซึ่งหิดกับโลนเมื่อเป็นแล้วจะมีตัวฝังอยู่ใต้ผิวหนังหรือเนื้อคน ทำให้คันยิบๆ
ต้องแกะเอาตัวออกมาใช้เล็บหัวแม่มือกด จะแตกดังแป๊ะและมีเลือดติดเห็นชัดเจน
หิดกับโลนเป็นแล้วติดต่อกันได้ โดยเฉพาะโลนมักเป็นใต้ร่มผ้า
บางคนเป็นมากถึงกับต้องโกนขนเพชร ซึ่งในยุคนั้นนิยมใช้ "ซีม่า" ทา
ทั้งเจ็บและแสบช่วยให้หายได้ ใครเป็นหิดก็มีตัวอยู่ในตุ่มหิด
ต้องรักษากันอย่างเป็นเรื่องเป็นราวจึงจะ หายได้
คนรุ่นใหม่ในยุคปัจจุบันไม่รู้จักโรคหิดกับโลนอย่างแน่นอน
ส่วนการ เป็นกลากเกลื้อน ตามตัวตามใต้ร่มผ้านั้น ในทางสมุนไพรมีหลายชนิดใช้รักษาให้หายได้มาแต่โบราณเช่นกัน ซึ่งต้น "ทองพันชั่ง" ก็เป็นหนึ่งในสมุนไพรที่มีสรรพคุณแก้โรคดังกล่าวด้วย โดยมีวิธีง่ายๆคือ ให้เอา ใบสด และ ราก ของต้น "ทองพันชั่ง" กะจำนวนมากน้อยตามต้องการ โขลกรวมกันให้ ละเอียดแล้วเอาไปแช่กับเหล้าโรงหรือเหล้าขาว 40 ดีกรี กะจำนวนเหล้าให้ท่วมเนื้อยาหรือมากหน่อย ปิดฝาโหลแก้วทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ จากนั้นเปิดฝาเอาน้ำยาที่แช่ไว้ทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อนวันละ 3-4 ครั้ง โดยเฉพาะหลังอาบน้ำเสร็จใหม่ๆ กลากเกลื้อนที่เป็นอยู่จะค่อยๆทุเลาและแห้งหายได้ ซึ่งสารสำคัญที่ได้จากยาคือ RHINACANTHIN และ OXYMETHY LANTHRAQUINONE
ทองพันชั่ง หรือ RHINACANTHUS NASUTUS (L.) KURZ อยู่ในวงศ์ ACANTHACEAE เป็นไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร กิ่งอ่อนมักเป็นสันสี่เหลี่ยม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม เป็นรูปไข่หรือรูปรี ปลายและโคนใบแหลม สีเขียวสด
ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆตามซอกใบ สีขาว โคนกลีบติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นกลีบดอก 2 กลีบ กลีบล่างจะมีประสีม่วงแดง "ผล" ทรงกลม เมื่อผลแก่จะแตกอ้า ภายในมีเมล็ด ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีชื่อเรียกอีกคือ ทองคันชั่ง และ หญ้ามันไก่ นิยมปลูกตามสวนสมุนไพรทั่วไป ปัจจุบัน "ทองพันชั่ง" มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 19 แผง "ลุงนรินทร์" และโครงการ 21 แผง "คุณพร้อมพันธุ์" ราคาสอบถามกันเองครับ.
ส่วนการ เป็นกลากเกลื้อน ตามตัวตามใต้ร่มผ้านั้น ในทางสมุนไพรมีหลายชนิดใช้รักษาให้หายได้มาแต่โบราณเช่นกัน ซึ่งต้น "ทองพันชั่ง" ก็เป็นหนึ่งในสมุนไพรที่มีสรรพคุณแก้โรคดังกล่าวด้วย โดยมีวิธีง่ายๆคือ ให้เอา ใบสด และ ราก ของต้น "ทองพันชั่ง" กะจำนวนมากน้อยตามต้องการ โขลกรวมกันให้ ละเอียดแล้วเอาไปแช่กับเหล้าโรงหรือเหล้าขาว 40 ดีกรี กะจำนวนเหล้าให้ท่วมเนื้อยาหรือมากหน่อย ปิดฝาโหลแก้วทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ จากนั้นเปิดฝาเอาน้ำยาที่แช่ไว้ทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อนวันละ 3-4 ครั้ง โดยเฉพาะหลังอาบน้ำเสร็จใหม่ๆ กลากเกลื้อนที่เป็นอยู่จะค่อยๆทุเลาและแห้งหายได้ ซึ่งสารสำคัญที่ได้จากยาคือ RHINACANTHIN และ OXYMETHY LANTHRAQUINONE
ทองพันชั่ง หรือ RHINACANTHUS NASUTUS (L.) KURZ อยู่ในวงศ์ ACANTHACEAE เป็นไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร กิ่งอ่อนมักเป็นสันสี่เหลี่ยม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม เป็นรูปไข่หรือรูปรี ปลายและโคนใบแหลม สีเขียวสด
ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆตามซอกใบ สีขาว โคนกลีบติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นกลีบดอก 2 กลีบ กลีบล่างจะมีประสีม่วงแดง "ผล" ทรงกลม เมื่อผลแก่จะแตกอ้า ภายในมีเมล็ด ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีชื่อเรียกอีกคือ ทองคันชั่ง และ หญ้ามันไก่ นิยมปลูกตามสวนสมุนไพรทั่วไป ปัจจุบัน "ทองพันชั่ง" มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 19 แผง "ลุงนรินทร์" และโครงการ 21 แผง "คุณพร้อมพันธุ์" ราคาสอบถามกันเองครับ.
โทงเทง หญ้าดีข้างทาง
ไม้ชนิด
นี้เป็นไม้จำพวกหญ้า พบขึ้นตามที่รกร้างข้างทาง หรือที่ชุ่มชื้นทั่วไป
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า PHYSALIS ANGULATA
LINN. อยู่ในวงศ์ SOLANACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ล้มลุก
ต้นสูงประมาณครึ่งเมตร แตกกิ่งก้านสาขาเป็นพุ่มเตี้ย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ
ก้านใบยาว ใบเป็นรูปกลมกว้างคล้ายใบพิมเสน แต่จะมีขนาดเล็กกว่า
ผิวใบมีขนละเอียดทั่วทั้งใบ สีเขียวสด
ดอก ออกเป็นช่อ หรือเดี่ยวๆตามซอกใบ กลีบดอกเป็นสีเหลืองสด “ผล” รูปทรงกลม พองลม เหมือนโคมจีน ปลายผลแหลม ผลโตเต็มที่ประมาณผลพุทรา ผลเป็นสีเขียวอ่อนสวยงามแปลกตามาก ภายในมีเมล็ด สมัยเป็นเด็ก จำได้ว่าชอบนำเอาผลของ “โทงเทง” ไปห้อยเล่นสนุกตามประสาเด็กบ้านนอก และใช้ฝ่ามือสองข้างตบให้ผลแตกเสียงดังโพละ ผลเมื่อแห้งจะติดอยู่กับต้น เป็นสีน้ำตาล ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 21 แผง “คุณพร้อมพันธุ์” ราคาสอบถามกันเอง
สรรพคุณทางยา แพทย์ตามชนบทนิยมใช้ทั้งต้นตำละเอียดละลายกับเหล้าขาว 28 ดีกรี หรือ 40 ดีกรี แล้วเอาสำลีชุบเฉพาะน้ำอมไว้ข้างแก้มกลืนน้ำยาผ่านลำคอทีละน้อย เป็นยาช่วยแก้ต่อมน้ำลายอักเสบ (ต่อมทอนซิล) แก้ฝีในลำคอ (แซง้อ) หรือละลายกับน้ำส้มสายชูก็ได้ ใช้สำลีชุบเอาน้ำอมไว้ข้างแก้มกลืนเอาน้ำทีละน้อยเช่นเดียวกัน เป็นยาแก้ลำคออักเสบได้ดีมาก ถ้าใช้ภายในเป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ ภายนอกทาแก้ฟกบวมอักเสบ และทำให้เย็น สูตรยานี้ชาวจีนในประเทศไทย นิยมใช้กันมาก เนื่องจากได้ผลดีระดับหนึ่ง
ปัจจุบัน ต้น “โทงเทง” จะมีปลูกอย่างกว้างขวางเฉพาะตามสวนสมุนไพรจีน เพื่อใช้เป็นยาตามที่กล่าวข้างต้น เมื่อมีผู้ขยายพันธุ์นำต้นวางขายเลยแนะนำตามหน้าที่ครับ.
ดอก ออกเป็นช่อ หรือเดี่ยวๆตามซอกใบ กลีบดอกเป็นสีเหลืองสด “ผล” รูปทรงกลม พองลม เหมือนโคมจีน ปลายผลแหลม ผลโตเต็มที่ประมาณผลพุทรา ผลเป็นสีเขียวอ่อนสวยงามแปลกตามาก ภายในมีเมล็ด สมัยเป็นเด็ก จำได้ว่าชอบนำเอาผลของ “โทงเทง” ไปห้อยเล่นสนุกตามประสาเด็กบ้านนอก และใช้ฝ่ามือสองข้างตบให้ผลแตกเสียงดังโพละ ผลเมื่อแห้งจะติดอยู่กับต้น เป็นสีน้ำตาล ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 21 แผง “คุณพร้อมพันธุ์” ราคาสอบถามกันเอง
สรรพคุณทางยา แพทย์ตามชนบทนิยมใช้ทั้งต้นตำละเอียดละลายกับเหล้าขาว 28 ดีกรี หรือ 40 ดีกรี แล้วเอาสำลีชุบเฉพาะน้ำอมไว้ข้างแก้มกลืนน้ำยาผ่านลำคอทีละน้อย เป็นยาช่วยแก้ต่อมน้ำลายอักเสบ (ต่อมทอนซิล) แก้ฝีในลำคอ (แซง้อ) หรือละลายกับน้ำส้มสายชูก็ได้ ใช้สำลีชุบเอาน้ำอมไว้ข้างแก้มกลืนเอาน้ำทีละน้อยเช่นเดียวกัน เป็นยาแก้ลำคออักเสบได้ดีมาก ถ้าใช้ภายในเป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ ภายนอกทาแก้ฟกบวมอักเสบ และทำให้เย็น สูตรยานี้ชาวจีนในประเทศไทย นิยมใช้กันมาก เนื่องจากได้ผลดีระดับหนึ่ง
ปัจจุบัน ต้น “โทงเทง” จะมีปลูกอย่างกว้างขวางเฉพาะตามสวนสมุนไพรจีน เพื่อใช้เป็นยาตามที่กล่าวข้างต้น เมื่อมีผู้ขยายพันธุ์นำต้นวางขายเลยแนะนำตามหน้าที่ครับ.
ธนนชัย
ใบอ่อนเหมือนกะหลํ่า
ไม้ต้นนี้
มีขึ้นตามธรรมชาติในป่าเบญจพรรณทุกภาคของประเทศไทย สมัยเป็นเด็กบ้านนอกจำได้ว่า
เวลาขึ้นเขาเข้าป่าจะพบต้น "ธนนชัย" ขึ้นอยู่มากมาย
โดยเฉพาะในช่วงผลัดใบ
ใบอ่อนหรือยอดอ่อนจะเป็นสีแดงอมชมพูห่อตัวเบียดกันหนาแน่นคล้าย กะหลํ่าปลี
กระจายทั่วทั้งต้น ทำให้ดูเหมือนดอกสวยงามมาก บนเขาใหญ่เคยพบเห็นหลายต้น
ในช่วงติดดอก ดอกจริงๆของต้น "ธนนชัย" จะเป็นช่อคล้ายกับดอกสมอทั่วๆไป โดยช่อดอกจะยาวเป็นสีเหลืองอร่ามทั้งต้นน่าชมยิ่ง แตกต่างจากตอนที่ ผลัดใบใหม่เหมือนกับเป็นคนละต้นอย่างสิ้นเชิง คนที่ไม่รู้ข้อเท็จจริงมักจะหลงว่าไม่ใช่ต้นเดียวกันเป็นประจำ แต่คนที่เดินป่าสมํ่าเสมอจะรู้ดี เพราะนอกจากต้น "ธนนชัย" จะมีความสวยงามแตกต่าง 2 รูปแบบ แล้ว ในตำรายาสมุนไพรยังระบุว่ามีสรรพคุณทางยาด้วย โดย ราก กับ แก่น หรือเนื้อไม้ของ "ธนนชัย" เอาไปต้มกับนํ้าดื่ม เป็นยาแก้อาหารเป็นพิษได้ เปลือกต้น ผสมกับเกลือป่นกะตามสมควรต้มนํ้าจนเดือดใช้อมขณะอุ่นในปาก 15-20 นาที แก้อาการเลือดออกตามไรฟัน หรือ โรคลักปิดลักเปิด ดีมาก หมอยาแผนไทยนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในยุคสมัยก่อน
ธนนชัย หรือ BUCHANANIA SIAMENSIS MIG. อยู่ในวงศ์ ANACARDIACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร เป็นไม้ผลัดใบ เรือนยอดเป็นทรงกระบอก ปลายกิ่งมักลู่ลง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเป็นรูปไข่กลับ ปลายมน โคนเรียว ในช่วงผลัดใบ ยอดอ่อนหรือใบอ่อนจะเป็นสีแดงอมชมพูเบียดกันหนา แน่นคล้ายกะหลํ่าปลี (ดูภาพประกอบคอลัมน์) กระจายเต็มต้นทุกยอด ทำให้ ดูสวยงามเหมือนเป็นดอกตามที่กล่าวข้างต้น จากนั้นจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเขียวตามวัฏจักรของธรรมชาติ
ดอก ออกเป็นช่อกระจะตามซอกใบและปลายกิ่ง ช่อยาวประมาณ 4-8 ซม. แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกเป็นสีเหลืองอ่อน เวลามีดอกดกช่อดอกจะชูตั้งขึ้นและดอกบานพร้อมกันจะดูสวยงามอร่ามตามาก "ผล" รูปทรงกลม เมื่อสุกเป็นสีม่วง มีเนื้อหุ้มเมล็ด เวลาติดผลสุกนกชนิดต่างๆ มักบินไปกินผลสุกเป็นประจำ ดอก ออกช่วงระหว่างเดือนธันวาคมต่อเนื่องไปจนถึงเดือนมีนาคมปีถัดไป ผลแก่จัดในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง มีชื่อเรียกอีกคือ ศรี-ธนนชัย พังพวยนก หรือ พังพวยป่า และ หลวงไทร มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 21 แผง "คุณพร้อมพันธุ์" ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป ทน สภาพดินเค็มได้ดีอีกด้วยครับ.
ในช่วงติดดอก ดอกจริงๆของต้น "ธนนชัย" จะเป็นช่อคล้ายกับดอกสมอทั่วๆไป โดยช่อดอกจะยาวเป็นสีเหลืองอร่ามทั้งต้นน่าชมยิ่ง แตกต่างจากตอนที่ ผลัดใบใหม่เหมือนกับเป็นคนละต้นอย่างสิ้นเชิง คนที่ไม่รู้ข้อเท็จจริงมักจะหลงว่าไม่ใช่ต้นเดียวกันเป็นประจำ แต่คนที่เดินป่าสมํ่าเสมอจะรู้ดี เพราะนอกจากต้น "ธนนชัย" จะมีความสวยงามแตกต่าง 2 รูปแบบ แล้ว ในตำรายาสมุนไพรยังระบุว่ามีสรรพคุณทางยาด้วย โดย ราก กับ แก่น หรือเนื้อไม้ของ "ธนนชัย" เอาไปต้มกับนํ้าดื่ม เป็นยาแก้อาหารเป็นพิษได้ เปลือกต้น ผสมกับเกลือป่นกะตามสมควรต้มนํ้าจนเดือดใช้อมขณะอุ่นในปาก 15-20 นาที แก้อาการเลือดออกตามไรฟัน หรือ โรคลักปิดลักเปิด ดีมาก หมอยาแผนไทยนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในยุคสมัยก่อน
ธนนชัย หรือ BUCHANANIA SIAMENSIS MIG. อยู่ในวงศ์ ANACARDIACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร เป็นไม้ผลัดใบ เรือนยอดเป็นทรงกระบอก ปลายกิ่งมักลู่ลง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเป็นรูปไข่กลับ ปลายมน โคนเรียว ในช่วงผลัดใบ ยอดอ่อนหรือใบอ่อนจะเป็นสีแดงอมชมพูเบียดกันหนา แน่นคล้ายกะหลํ่าปลี (ดูภาพประกอบคอลัมน์) กระจายเต็มต้นทุกยอด ทำให้ ดูสวยงามเหมือนเป็นดอกตามที่กล่าวข้างต้น จากนั้นจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเขียวตามวัฏจักรของธรรมชาติ
ดอก ออกเป็นช่อกระจะตามซอกใบและปลายกิ่ง ช่อยาวประมาณ 4-8 ซม. แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกเป็นสีเหลืองอ่อน เวลามีดอกดกช่อดอกจะชูตั้งขึ้นและดอกบานพร้อมกันจะดูสวยงามอร่ามตามาก "ผล" รูปทรงกลม เมื่อสุกเป็นสีม่วง มีเนื้อหุ้มเมล็ด เวลาติดผลสุกนกชนิดต่างๆ มักบินไปกินผลสุกเป็นประจำ ดอก ออกช่วงระหว่างเดือนธันวาคมต่อเนื่องไปจนถึงเดือนมีนาคมปีถัดไป ผลแก่จัดในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง มีชื่อเรียกอีกคือ ศรี-ธนนชัย พังพวยนก หรือ พังพวยป่า และ หลวงไทร มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 21 แผง "คุณพร้อมพันธุ์" ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป ทน สภาพดินเค็มได้ดีอีกด้วยครับ.
นางแย้ม
หอมแรงสรรพคุณดี
ไม้ต้นนี้
จัดเป็นไม้ดอกหอมชนิดหนึ่งที่ถูกนำไปรวมไว้ในบทเพลงชมสวนฟังแล้วต้องยอมรับว่าผู้แต่งเก่งมาก
สามารถเรียงร้อยไม้ดอกหอมหลากหลายชนิดออกมาเป็นบทเพลงได้ไพเราะเสนาะหูดียิ่ง ซึ่ง “นางแย้ม” ได้รับความนิยมปลูกประดับกันแพร่หลายในยุคสมัยก่อน
เนื่องจากช่อดอกใหญ่สวยงามและส่งกลิ่นหอมได้ตลอดปี
ปัจจุบันคนรุ่นใหม่น้อยคนนักจะรู้จัก เพราะค่านิยมในการปลูก “นางแย้ม” ได้ลดน้อยลงตามกาลเวลาจึงไม่พบเห็นนัก
นางแย้ม หรือ VOLKAMERIA FRAGRANS VENT อยู่ในวงศ์ VERBENA-CEAE เป็นไม้พุ่มสูง 1-2 เมตร กิ่งก้านเป็นเหลี่ยม มีขน ใบเดี่ยวออกตรงกันข้าม รูปไข่กว้างมีขน ปลายแหลม โคนตัดหรือรูปหัวใจ สีเขียวสด ใบดกและหนาแน่นมาก ดอก ออกเป็นช่อแน่นในระนาบเดียวกัน ดอกด้านนอกจะบานก่อน ช่อดอกออกที่ปลายยอด
กลีบเกลี้ยงเป็นหลอดสั้น สีม่วงแดง ปลายแยกเป็น 5-6 แฉก กลีบดอกมีหลายชั้น โคนกลีบติดกัน ปลายแผ่ออก กลีบด้านนอกสุดเป็นสีม่วงแดงสลับขาว กลีบด้านในเป็นสีขาว เมื่อบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5-3 ซม. ดอกมีกลิ่นหอมแรง เวลามีดอกดกเป็นช่อขนาดใหญ่และดอกบานพร้อมกันทั้งต้น จะดูสวยงามสะดุดตาและส่งกลิ่นหอมฟุ้งกระจายเป็นที่ชื่นใจมาก ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยหน่อ ทับกิ่ง และปักชำต้น ถิ่นกำเนิดเอเชียตะวันออก พบขึ้นตามป่าทั่วไป มีชื่อเรียกอีกคือ ปิ้ง-ชะมด, ปิ้งซ้อน (ภาคเหนือ) ปิ้งสมุทร (เชียงใหม่) ส้วนใหญ่ (โคราช) ชาวจีนเรียกว่า เล่งจุ้นฮวย
ประโยชน์ทางสมุนไพร ราก ฝนกับน้ำปูนใสทารักษาโรคเริม งูสวัด หรือ ต้มน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ แก้โรคเกี่ยวกับลำไส้ และแก้ไตพิการได้ ปัจจุบัน “นางแย้ม” มีขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักรทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 19 แผง “ลุงนรินทร์” ราคาสอบถามกันเอง เป็นไม้ชอบความชื้นสูงและชอบแดดรำไรครับ.
นางแย้ม หรือ VOLKAMERIA FRAGRANS VENT อยู่ในวงศ์ VERBENA-CEAE เป็นไม้พุ่มสูง 1-2 เมตร กิ่งก้านเป็นเหลี่ยม มีขน ใบเดี่ยวออกตรงกันข้าม รูปไข่กว้างมีขน ปลายแหลม โคนตัดหรือรูปหัวใจ สีเขียวสด ใบดกและหนาแน่นมาก ดอก ออกเป็นช่อแน่นในระนาบเดียวกัน ดอกด้านนอกจะบานก่อน ช่อดอกออกที่ปลายยอด
กลีบเกลี้ยงเป็นหลอดสั้น สีม่วงแดง ปลายแยกเป็น 5-6 แฉก กลีบดอกมีหลายชั้น โคนกลีบติดกัน ปลายแผ่ออก กลีบด้านนอกสุดเป็นสีม่วงแดงสลับขาว กลีบด้านในเป็นสีขาว เมื่อบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5-3 ซม. ดอกมีกลิ่นหอมแรง เวลามีดอกดกเป็นช่อขนาดใหญ่และดอกบานพร้อมกันทั้งต้น จะดูสวยงามสะดุดตาและส่งกลิ่นหอมฟุ้งกระจายเป็นที่ชื่นใจมาก ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยหน่อ ทับกิ่ง และปักชำต้น ถิ่นกำเนิดเอเชียตะวันออก พบขึ้นตามป่าทั่วไป มีชื่อเรียกอีกคือ ปิ้ง-ชะมด, ปิ้งซ้อน (ภาคเหนือ) ปิ้งสมุทร (เชียงใหม่) ส้วนใหญ่ (โคราช) ชาวจีนเรียกว่า เล่งจุ้นฮวย
ประโยชน์ทางสมุนไพร ราก ฝนกับน้ำปูนใสทารักษาโรคเริม งูสวัด หรือ ต้มน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ แก้โรคเกี่ยวกับลำไส้ และแก้ไตพิการได้ ปัจจุบัน “นางแย้ม” มีขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักรทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 19 แผง “ลุงนรินทร์” ราคาสอบถามกันเอง เป็นไม้ชอบความชื้นสูงและชอบแดดรำไรครับ.
นมแมว ดอกหอมเป็นยา
ไม้ต้นนี้
พบขึ้นตามป่าทุกภาคของประเทศไทย
สมัยก่อนนิยมปลูกประดับตามบ้านและตามวัดวาอารามอย่างแพร่หลาย เนื่องจากดอกของ “นมแมว” มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวเป็นที่ชื่นใจยิ่ง
ปัจจุบัน “นมแมว” ได้เสื่อมความนิยมลงไปตามกาลเวลาจนทำให้พบเห็นน้อยมาก
ส่วนใหญ่จะมีปลูกอนุรักษ์บ้าง ตามสวนสาธารณะเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น
ซึ่งคนรุ่นเก่าอายุประมาณ 50-60 ปีขึ้นไป จะรู้จักต้น “นมแมว” เป็นอย่างดี แต่คนรุ่นใหม่น้อยคนนักจะรู้จัก
นมแมว นอกจากดอกจะมีกลิ่นหอม เฉพาะตัวตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว บางส่วนของต้นยังมีสรรพคุณเป็นสมุนไพรด้วย โดยในตำรายาพื้นบ้านและตำรายาโบราณระบุว่า ราก ของ “นมแมว” ฝนกับน้ำหรือตำผสมกับน้ำปูนใสทา แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อยดีมาก ราก ยังเอาไปต้มกับน้ำจนเดือด ดื่มขณะอุ่นแก้ประจำเดือนไม่ ปกติในสตรี และ ราก ผสมกับ ราก ต้นไส้ไก่ ราก ต้นหนาม พรหม ต้มดื่มแก้ริดสีดวงจมูกเด็ดขาดมาก
นมแมว หรือ MELODO-RUM SIAMENSIS (SCHEFF) BAN. อยู่ในวงศ์ ANNONACEAE เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย ต้นสูง 1.5-2 เมตร กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลหนาแน่น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปขอบ ขนานแกมรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนมน สีเขียวสด ใบดกและหนา แน่นมาก
ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง มีกลีบเลี้ยง 3แฉก รูปสามเหลี่ยมสีเขียว กลีบดอก 6 กลีบ เรียงซ้อนกัน 2 ชั้น สีเหลืองนวล เป็นรูปไข่ เนื้อกลีบดอกหนา แข็ง ดอกมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวชื่นใจมากตามที่กล่าวข้างต้น “ผล” เป็นกลุ่ม 2-3 ผล รูปทรงกระบอกสั้น สีเขียว เมื่อแก่เป็นสีเหลือง มีเมล็ดแข็งสีดำ ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และตอนกิ่ง มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 19 แผง “ลุงนรินทร์” ราคาสอบถามกันเองครับ.
นมแมว นอกจากดอกจะมีกลิ่นหอม เฉพาะตัวตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว บางส่วนของต้นยังมีสรรพคุณเป็นสมุนไพรด้วย โดยในตำรายาพื้นบ้านและตำรายาโบราณระบุว่า ราก ของ “นมแมว” ฝนกับน้ำหรือตำผสมกับน้ำปูนใสทา แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อยดีมาก ราก ยังเอาไปต้มกับน้ำจนเดือด ดื่มขณะอุ่นแก้ประจำเดือนไม่ ปกติในสตรี และ ราก ผสมกับ ราก ต้นไส้ไก่ ราก ต้นหนาม พรหม ต้มดื่มแก้ริดสีดวงจมูกเด็ดขาดมาก
นมแมว หรือ MELODO-RUM SIAMENSIS (SCHEFF) BAN. อยู่ในวงศ์ ANNONACEAE เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย ต้นสูง 1.5-2 เมตร กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลหนาแน่น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปขอบ ขนานแกมรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนมน สีเขียวสด ใบดกและหนา แน่นมาก
ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง มีกลีบเลี้ยง 3แฉก รูปสามเหลี่ยมสีเขียว กลีบดอก 6 กลีบ เรียงซ้อนกัน 2 ชั้น สีเหลืองนวล เป็นรูปไข่ เนื้อกลีบดอกหนา แข็ง ดอกมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวชื่นใจมากตามที่กล่าวข้างต้น “ผล” เป็นกลุ่ม 2-3 ผล รูปทรงกระบอกสั้น สีเขียว เมื่อแก่เป็นสีเหลือง มีเมล็ดแข็งสีดำ ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และตอนกิ่ง มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 19 แผง “ลุงนรินทร์” ราคาสอบถามกันเองครับ.
น้ำมะนาว–น้ำตาลทรายแดง แก้เสียงแหบ
จู่ๆเกิดพูดเสียงแหบแบบไม่รู้ตัว
เกิดจากหลายสาเหตุ บางคนเป็นบ่อยจนเคยชินและหายได้เอง
แต่เมื่อเป็นแล้วจะรู้สึกอึดอัดหรือรำคาญตัวเอง ในทางสมุนไพรมีวิธีช่วยแบบง่ายๆ
คือ เตรียม “มะนาว”
ไว้ 3 ผล “น้ำตาลทรายแดง”
หรือ “โอวทึ้ง” 3 ช้อนโต๊ะ
จากนั้น เอา “น้ำตาลทรายแดง” ชงกับน้ำร้อนปริมาณครึ่งลิตร คนจนน้ำตาลละลายดีแล้วจึงบีบเอาน้ำ “มะนาว” ลงไปคนให้เข้ากันแล้วใช้จิบเรื่อยๆ จนหมดภายในครึ่งวัน อาการที่เป็นจะค่อยๆ ดีขึ้นและหายได้ในที่สุด สามารถทำจิบได้อีกเมื่อมีอาการเสียงแหบ
มะนาว หรือ CITRUS AURANTIFOLLIA SWING อยู่ในวงศ์ RUTACEAE น้ำ “มะนาว” ขับเสมหะ แก้ไอ แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน มีวิตามินซี ราก เป็นยาถอนพิษโดยฝนกับเหล้าขาว 40 ดีกรี ทาฝีแก้ปวดฝี ราก รสปร่า กินกระทุ่งพิษ ถอนพิษสำแดง แก้สติหลงลืม
จากนั้น เอา “น้ำตาลทรายแดง” ชงกับน้ำร้อนปริมาณครึ่งลิตร คนจนน้ำตาลละลายดีแล้วจึงบีบเอาน้ำ “มะนาว” ลงไปคนให้เข้ากันแล้วใช้จิบเรื่อยๆ จนหมดภายในครึ่งวัน อาการที่เป็นจะค่อยๆ ดีขึ้นและหายได้ในที่สุด สามารถทำจิบได้อีกเมื่อมีอาการเสียงแหบ
มะนาว หรือ CITRUS AURANTIFOLLIA SWING อยู่ในวงศ์ RUTACEAE น้ำ “มะนาว” ขับเสมหะ แก้ไอ แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน มีวิตามินซี ราก เป็นยาถอนพิษโดยฝนกับเหล้าขาว 40 ดีกรี ทาฝีแก้ปวดฝี ราก รสปร่า กินกระทุ่งพิษ ถอนพิษสำแดง แก้สติหลงลืม
น้ำมะพร้าวอ่อน
แก้เครียดไมเกรน
สูตรดังกล่าว ให้เอา “น้ำมะพร้าวอ่อน” 1 ผล ดอก ดีปลี ตากแห้ง 7 ดอก เกลือตัวผู้ คือ
เกลือทำจากน้ำทะเล มีใส่ถุงขายริมถนนติดกับนาเกลือ คัดเอาเฉพาะที่เป็นเม็ดแหลม 3
ตัว ถ้าเป็นเม็ดแบนกลมเรียกว่า เกลือตัวเมีย เกลือป่น เกลือสินเธาว์
ใช้ไม่ได้ นำทั้ง 3 อย่างต้มรวมกันพอเดือดดื่ม 2 เวลา เช้าเย็น ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้
จะทำให้อาการเครียดและปวดศีรษะจากไมเกรนหายได้
น้ำมะพร้าว บำรุงธาตุไฟ มีเกลือโปแตสเซียมและน้ำตาลกลูโคสสูง ถ้าดื่มประจำอาจพบ แอลบูมิน ในปัสสาวะ พบว่ามีสารคล้ายฮอร์โมนเพศหญิง รากและดอกต้มน้ำดื่มแก้ท้องเสีย แก้พิษไข้ต่างๆ แก้ริดสีดวงทวาร
ดีปลี ผลแก่จัดแต่ยังไม่สุกตากแห้ง 10-15 ผล ต้มน้ำดื่มแก้ไอ ฝนผสมกับน้ำมะนาวกวาดคอ หรือจิบบ่อยๆ ขับลม แก้ไอ น้ำมันหอมระเหยพบสาร PIPERINE มีผลยับยั้งการบีบตัวของลำไส้เล็ก แต่มีสารบางชนิดที่สตรีมีครรภ์ต้องระวังในการใช้ดีปลี
น้ำมะพร้าว บำรุงธาตุไฟ มีเกลือโปแตสเซียมและน้ำตาลกลูโคสสูง ถ้าดื่มประจำอาจพบ แอลบูมิน ในปัสสาวะ พบว่ามีสารคล้ายฮอร์โมนเพศหญิง รากและดอกต้มน้ำดื่มแก้ท้องเสีย แก้พิษไข้ต่างๆ แก้ริดสีดวงทวาร
ดีปลี ผลแก่จัดแต่ยังไม่สุกตากแห้ง 10-15 ผล ต้มน้ำดื่มแก้ไอ ฝนผสมกับน้ำมะนาวกวาดคอ หรือจิบบ่อยๆ ขับลม แก้ไอ น้ำมันหอมระเหยพบสาร PIPERINE มีผลยับยั้งการบีบตัวของลำไส้เล็ก แต่มีสารบางชนิดที่สตรีมีครรภ์ต้องระวังในการใช้ดีปลี
น้ำผึ้งแท้ แก้สิวใต้คาง
คนส่วนใหญ่จะเป็นสิว
ที่ใบหน้า เมื่อเป็นแล้วต้องรีบรักษา เพราะใบหน้าคือด่านแรกที่จะถูกมองก่อน
ถ้าใบหน้าเกลี้ยงใสจะทำให้ดูดีไปหมด
ซึ่งตัวยาสำหรับใช้รักษาสิวบริเวณใบหน้าในปัจจุบันมีมากมายให้เลือกใช้
มีทั้งเป็นสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมัยใหม่
อยู่ที่ว่าใครใช้ตัวไหนแล้วสามารถทำให้สิวที่ใบหน้าหายได้ก็ใช้ตัวนั้นต่อได้ สำหรับสิวที่เกิดขึ้นบริเวณใต้คาง
มีคนเป็นกันเยอะตั้งแต่สมัยโบราณมาจนกระทั่งปัจจุบัน โดยจะเกิดขึ้น
ครั้งละหลายๆเม็ด บางคนมีใบหน้าเกลี้ยงเกลาไม่มีสิว แม้แต่เม็ดเดียว
แต่สิวเจ้ากรรมกลับไปเกิดขึ้นที่ใต้คางทำให้รู้สึกหงุดหงิดมาก ในตำรายาแผนไทยระบุสาเหตุของการเกิดสิวที่ใต้คางว่า
มาจากอาการของ “ตับร้อน”
ซึ่งสมัยก่อนหมอยาพื้นบ้านมีวิธีรักษาแบบง่ายๆ คือ ให้เอา “น้ำผึ้งแท้” จำนวน 1ช้อนโต๊ะ
กินก่อนนอนทุกวัน จะช่วยให้สิวใต้คางค่อยๆ ดีขึ้นและหายได้ในที่สุด เมื่อหายแล้วจะหยุดกินก็ได้
เนื่องจากบางคนอาจกลัวว่า กิน “น้ำผึ้งแท้” มากเกินไปจะทำให้เป็น โรคเบาหวาน ได้
ซึ่งถ้าหากเกิดสิวใต้คางขึ้นมาอีกสามารถกิน “น้ำผึ้งแท้”
รักษาใหม่ได้ไม่มีอันตรายอะไร เพราะ “น้ำผึ้งแท้”
กินแล้วมีสรรพคุณดีต่อร่างกายหลายอย่าง ด้วย ปัจจุบัน “น้ำผึ้งแท้” มีวางขายทั่วไป และ มีบรรจุขวดขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ
สวน จตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 21 แผง “คุณพร้อมพันธุ์” ราคาสอบถามกันเอง
น้อยโหน่ง คนรู้จักน้อย
น้อยโหน่ง
เป็นไม้ผลกินได้ชนิดหนึ่งที่คนรู้จักกันน้อยมาก
โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่เชื่อขนมกินได้เลยว่าไม่รู้จักอย่างแน่นอน
สาเหตุเป็นเพราะไม่มีผลวางขายและไม่นิยมปลูกเหมือนกับน้อยหน่า อย่างไรก็ตาม
ในยุคสมัยก่อน “น้อยโหน่ง”
จะนิยมปลูกเป็นไม้ผลแซมตามร่องสวนแบบประปรายไม่แพร่หลาย
เพื่อสร้างระบบนิเวศน์ให้กับต้นไม้อื่นเท่านั้น
เวลา ติดผล รูปทรงของผลจะคล้ายกับผลของมะฮอกกานี ผลโตประมาณผลมะขวิดย่อมๆ ผิวผลแม้จะเกลี้ยงไม่มีตาโปนเช่นน้อยหน่า แต่จะดูเหมือนผลน้อยหน่าทุกอย่าง เมื่อผลสุกจะเป็นสีแดงปนสีน้ำตาล เนื้อในสีขาวนวลเหมือนกับเนื้อสุกของน้อยหน่า มีรสชาติหวาน แต่มีกลิ่นฉุนแรงและมีเมล็ดเยอะกว่า จึงทำให้ “น้อยโหน่ง” ไม่นิยมรับประทานหรือนิยมปลูกมากนัก จนทำให้ “น้อยโหน่ง” ใกล้จะสูญพันธุ์ไปแล้วในปัจจุบัน จะมีปลูกอนุรักษ์บ้างก็เฉพาะตามสวนสมุนไพรขนาดใหญ่ไม่กี่แห่งเท่านั้น เพื่อใช้ประโยชน์ทางสมุนไพร
โดย ในตำรายาไทยใช้ผลดิบ ซึ่งมีรสฝาดกินแก้ท้องร่วง แก้บิด ขับพยาธิในร่างกาย ใบสด ตำพอกแก้ฟกบวม และฆ่าพยาธิที่ผิวหนัง แก้กลากเกลื้อนเรื้อนและคุดทะราดที่เชื่อว่าเกิดจากพยาธิผิวหนัง ตำรายาพื้นบ้านใช้ผลดิบและใบสดทำเป็นสีย้อมผ้าให้สีดำและสีน้ำเงินดีมาก แต่ก็พบสารที่เป็นพิษต่อเซลล์ได้แก่ ANNORETICUIN–9–ONE, SQUAMONE, SOLAMIN, ANNOMONICIN, ROLLINIASTATIN ควรนำไปศึกษาในเรื่องยารักษามะเร็งได้
“น้อยโหน่ง” หรือ CUSTARD APPLE, BULLOCK’S HEART-ANNONA RETICULATA LINN. อยู่ในวงศ์ ANNONALEAE เป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก สูง 6-7 เมตร ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปขอบขนาน เนื้อใบหนาคล้ายใบทุเรียน
ดอก ออกเป็นช่อกระจะ 2-3 ดอกตามซอกใบ มีกลีบดอก 3 กลีบเหมือนน้อยหน่า เนื้อกลีบหนาแข็ง สีเหลืองแกมเขียว มีกลิ่นหอมเอียนๆ “ผล” เป็นกลุ่มเชื่อมรวมกันเป็นผลเดียว รูปทรงค่อนข้างกลม หรือคล้ายรูปหัวใจ หรือเหมือนผลมะฮอกกานีตามที่กล่าวข้างต้น ผลสุกรับประทานได้ แต่ไม่ได้รับความนิยม เพราะมีกลิ่นฉุนแรงนั่นเอง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง
ปัจจุบัน นานๆจะพบมีกิ่งตอนวางขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แต่ไม่ได้รับความสนใจจากผู้ปลูก หากใครต้องการกิ่งพันธุ์ไปปลูกต้องเดินสอบถามตามแผงจำหน่ายไม้ผลเอาเอง อาจมีหลงเหลือบ้าง เหมาะจะปลูกอนุรักษ์ก่อนที่ “น้อยโหน่ง” จะสูญพันธุ์ครับ.
เวลา ติดผล รูปทรงของผลจะคล้ายกับผลของมะฮอกกานี ผลโตประมาณผลมะขวิดย่อมๆ ผิวผลแม้จะเกลี้ยงไม่มีตาโปนเช่นน้อยหน่า แต่จะดูเหมือนผลน้อยหน่าทุกอย่าง เมื่อผลสุกจะเป็นสีแดงปนสีน้ำตาล เนื้อในสีขาวนวลเหมือนกับเนื้อสุกของน้อยหน่า มีรสชาติหวาน แต่มีกลิ่นฉุนแรงและมีเมล็ดเยอะกว่า จึงทำให้ “น้อยโหน่ง” ไม่นิยมรับประทานหรือนิยมปลูกมากนัก จนทำให้ “น้อยโหน่ง” ใกล้จะสูญพันธุ์ไปแล้วในปัจจุบัน จะมีปลูกอนุรักษ์บ้างก็เฉพาะตามสวนสมุนไพรขนาดใหญ่ไม่กี่แห่งเท่านั้น เพื่อใช้ประโยชน์ทางสมุนไพร
โดย ในตำรายาไทยใช้ผลดิบ ซึ่งมีรสฝาดกินแก้ท้องร่วง แก้บิด ขับพยาธิในร่างกาย ใบสด ตำพอกแก้ฟกบวม และฆ่าพยาธิที่ผิวหนัง แก้กลากเกลื้อนเรื้อนและคุดทะราดที่เชื่อว่าเกิดจากพยาธิผิวหนัง ตำรายาพื้นบ้านใช้ผลดิบและใบสดทำเป็นสีย้อมผ้าให้สีดำและสีน้ำเงินดีมาก แต่ก็พบสารที่เป็นพิษต่อเซลล์ได้แก่ ANNORETICUIN–9–ONE, SQUAMONE, SOLAMIN, ANNOMONICIN, ROLLINIASTATIN ควรนำไปศึกษาในเรื่องยารักษามะเร็งได้
“น้อยโหน่ง” หรือ CUSTARD APPLE, BULLOCK’S HEART-ANNONA RETICULATA LINN. อยู่ในวงศ์ ANNONALEAE เป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก สูง 6-7 เมตร ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปขอบขนาน เนื้อใบหนาคล้ายใบทุเรียน
ดอก ออกเป็นช่อกระจะ 2-3 ดอกตามซอกใบ มีกลีบดอก 3 กลีบเหมือนน้อยหน่า เนื้อกลีบหนาแข็ง สีเหลืองแกมเขียว มีกลิ่นหอมเอียนๆ “ผล” เป็นกลุ่มเชื่อมรวมกันเป็นผลเดียว รูปทรงค่อนข้างกลม หรือคล้ายรูปหัวใจ หรือเหมือนผลมะฮอกกานีตามที่กล่าวข้างต้น ผลสุกรับประทานได้ แต่ไม่ได้รับความนิยม เพราะมีกลิ่นฉุนแรงนั่นเอง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง
ปัจจุบัน นานๆจะพบมีกิ่งตอนวางขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แต่ไม่ได้รับความสนใจจากผู้ปลูก หากใครต้องการกิ่งพันธุ์ไปปลูกต้องเดินสอบถามตามแผงจำหน่ายไม้ผลเอาเอง อาจมีหลงเหลือบ้าง เหมาะจะปลูกอนุรักษ์ก่อนที่ “น้อยโหน่ง” จะสูญพันธุ์ครับ.
น้ำมะนาว-ผงชูรส
ถอนพิษแมงป่อง
สมัยก่อน
คนชนบทจะถูกแมงป่องต่อยกันเยอะ บางคนแพ้พิษถึงขนาดต้องนอนรักษาอาการอยู่นานหลายวัน
อ.ปาจิต แสนเหม อดีตครูบำนาญท่านหนึ่งเล่าประสบการณ์เคยถูกแมงป่องต่อยเจ็บ ปวดมาก
และมีอาการแพ้พิษอย่างรุนแรง นอนซมอยู่กับบ้าน พอญาติๆทราบเรื่องไปเยี่ยม
แนะนำให้ใช้ "น้ำมะนาว-ผงชูรส" กะจำนวนพอที่จะใช้ คนให้ เข้ากัน
จากนั้นเอาสำลีชุบน้ำแปะบริเวณรอยแผลที่ถูกแมงป่องต่อยจะรู้สึกตัวยาดูดพิษบริเวณถูกต่อยตุ๊บๆ
ชัดเจน ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที
อาการปวดและแพ้พิษจะหายได้เหลือเชื่อ จึงบอกต่อเป็นวิทยาทาน ส่วนจะได้ผลขนาดไหน
ใครที่ถูกแมงป่องต่อยนำสูตรทดลองดู เพราะส่วนประกอบหาง่ายในครัวเรือน
มะนาว หรือ CITRUS AURANTIFOLIA (CHRISTM, PANZ SWING) อยู่ในวงศ์ RUTA-CEAE มีสรรพคุณเฉพาะตามตำรายาแผนไทยคือ น้ำมะนาวและผลดองแห้ง เป็นยาขับเสมหะ แก้ไอ แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เนื่องจากมีวิตามินซี น้ำมะนาวเป็นกระสายยาสำหรับสมุนไพรที่ใช้ขับเสมหะ เช่น เข้ากับดีปลี เป็นต้น มีขายทั่วไปตามตลาดสด รวมทั้งผงชูรสด้วย
มะนาว หรือ CITRUS AURANTIFOLIA (CHRISTM, PANZ SWING) อยู่ในวงศ์ RUTA-CEAE มีสรรพคุณเฉพาะตามตำรายาแผนไทยคือ น้ำมะนาวและผลดองแห้ง เป็นยาขับเสมหะ แก้ไอ แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เนื่องจากมีวิตามินซี น้ำมะนาวเป็นกระสายยาสำหรับสมุนไพรที่ใช้ขับเสมหะ เช่น เข้ากับดีปลี เป็นต้น มีขายทั่วไปตามตลาดสด รวมทั้งผงชูรสด้วย
นางแลวดอกม่วง
อร่อยรากเป็นยา
นางแลว
เป็นไม้ป่าที่พบขึ้นตามป่าดงดิบ ป่าแล้ง ป่าดิบเขา ทุกภาคของประเทศไทย
แต่จะมีมากที่สุดทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจะขึ้นอยู่ตามริมห้วย
ริมลำธาร เป็นกอกว้างจำนวนมาก ชาวบ้านที่มีอาชีพหาของป่าไปขายในตลาดตัวเมือง
นิยมเด็ดเอาเฉพาะดอกนำลงจากเขาไปจำหน่ายให้คนซื้อไปปรุงเป็นอาหาร
บางครั้งจะถอนทั้งต้นกลับไปปลูกริมรั้วบ้านเพื่อเก็บดอกกินและขายเป็นรายได้เสริม
ซึ่งนางแลวที่กล่าวถึงเป็นชนิดที่มีดอกสีขาว นิยมเอาดอกลวกจิ้มน้ำพริกชนิดต่างๆ
หรือปรุงเป็นแกงกับปลาแห้ง แกงผักรวม แกงแครวมกับผักอย่างอื่น รสชาติอร่อยมาก ชาวเหนือนิยมรับประทานกันอย่างกว้างขวาง
ส่วน "นางแลวดอกม่วง" เป็นอีกชนิดหนึ่งที่เพิ่งพบมีต้นวางขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ เมื่อไม่นานมานี้ โดยขายเป็นกอ 6-7 ต้น กำลังมีดอกตูมสีม่วงยังไม่บานติดมากับต้น ซึ่งผู้ขายบอกว่า เวลาดอกบานจะเป็นสีม่วงเข้มสวยงามน่ารักมากและดูคล้ายดอกบัว จึงถูกเรียกว่า "นางแลวดอกม่วง" สามารถปลูกเป็นไม้ประดับและปลูกเป็นผักริมรั้วเก็บดอกรับประทานได้เช่นเดียวกับนางแลวชนิดที่มีดอกสีขาวทุกอย่าง
นางแลวดอกม่วง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์เหมือนกับชนิดดอกสีขาวทุกอย่างคือ ASPIDISTRA SUTEPENSIS K.LARSEN อยู่ ในวงศ์ LILIACEAE เป็นไม้ล้มลุกมีเหง้าใต้ดิน ต้นและใบสูงประมาณ 80-100 ซม. แตกต้นเป็นกอขนาดใหญ่และกว้าง ต้นและใบแทงขึ้นจากเหง้าใต้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับรูปเรียวแหลม ปลายแหลม โคนใบป้านลึก ก้านใบสั้น โคนก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น ใบยาวประมาณ 40-45 ซม. กว้าง 4-5 นิ้วฟุต แกนกลางใบค่อนข้างแข็งมองเห็นชัดเจน เวลาแตกกอใหญ่และมีใบดกจะเป็นกอน่าชมมาก
ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆจากโคนต้น หรือจากเหง้าใต้ดิน ชูก้านขึ้นเหนือดิน โดยก้านช่อดอกจะมีความยาวประมาณ 8-10 ซม. ก้านช่อเป็นสีขาว ดอกขณะยังตูมผิวดอกจะเป็นสีม่วงชัดเจน เมื่อบานกลีบดอกจะเป็นสีม่วงเข้มสวยงามมาก ดอกจะมีได้เรื่อยๆ แต่จะมีดอกเยอะในช่วงระหว่างเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายนของทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยเหง้าหรือหน่อ ปัจจุบัน "นางแลวดอกม่วง" มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 24 แผง "คุณหล้า–คุณแก้ว–คุณนิด" ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป ชอบน้ำ เวลามีดอกจะสวยงามมากและเก็บดอกกินเป็นอาหารได้ ส่วน รากรสขมเฝื่อนต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้ไข้หรือแก้ไอได้ครับ.
ส่วน "นางแลวดอกม่วง" เป็นอีกชนิดหนึ่งที่เพิ่งพบมีต้นวางขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ เมื่อไม่นานมานี้ โดยขายเป็นกอ 6-7 ต้น กำลังมีดอกตูมสีม่วงยังไม่บานติดมากับต้น ซึ่งผู้ขายบอกว่า เวลาดอกบานจะเป็นสีม่วงเข้มสวยงามน่ารักมากและดูคล้ายดอกบัว จึงถูกเรียกว่า "นางแลวดอกม่วง" สามารถปลูกเป็นไม้ประดับและปลูกเป็นผักริมรั้วเก็บดอกรับประทานได้เช่นเดียวกับนางแลวชนิดที่มีดอกสีขาวทุกอย่าง
นางแลวดอกม่วง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์เหมือนกับชนิดดอกสีขาวทุกอย่างคือ ASPIDISTRA SUTEPENSIS K.LARSEN อยู่ ในวงศ์ LILIACEAE เป็นไม้ล้มลุกมีเหง้าใต้ดิน ต้นและใบสูงประมาณ 80-100 ซม. แตกต้นเป็นกอขนาดใหญ่และกว้าง ต้นและใบแทงขึ้นจากเหง้าใต้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับรูปเรียวแหลม ปลายแหลม โคนใบป้านลึก ก้านใบสั้น โคนก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น ใบยาวประมาณ 40-45 ซม. กว้าง 4-5 นิ้วฟุต แกนกลางใบค่อนข้างแข็งมองเห็นชัดเจน เวลาแตกกอใหญ่และมีใบดกจะเป็นกอน่าชมมาก
ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆจากโคนต้น หรือจากเหง้าใต้ดิน ชูก้านขึ้นเหนือดิน โดยก้านช่อดอกจะมีความยาวประมาณ 8-10 ซม. ก้านช่อเป็นสีขาว ดอกขณะยังตูมผิวดอกจะเป็นสีม่วงชัดเจน เมื่อบานกลีบดอกจะเป็นสีม่วงเข้มสวยงามมาก ดอกจะมีได้เรื่อยๆ แต่จะมีดอกเยอะในช่วงระหว่างเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายนของทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยเหง้าหรือหน่อ ปัจจุบัน "นางแลวดอกม่วง" มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 24 แผง "คุณหล้า–คุณแก้ว–คุณนิด" ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป ชอบน้ำ เวลามีดอกจะสวยงามมากและเก็บดอกกินเป็นอาหารได้ ส่วน รากรสขมเฝื่อนต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้ไข้หรือแก้ไอได้ครับ.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น